การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)
ผู้ประเมิน : นายเอกชัย รัตนพงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านชุมโค
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีที่ประเมิน : 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านชุมโค ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการ (2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ (3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของ (4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ (4.1) ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกิจกรรมถอดบทเรียนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (4.2) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ (4.3) ระดับความพึงพอใจ ของครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ การประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้มี 4 กลุ่ม จำนวน 115 คน ประกอบด้วย ครูและผู้บริหาร นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
4.1 ผลการประเมินบริบทของโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านชุมโค ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)ภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x = 4.46, S.D. = .73) เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุดและมากเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความต้องการ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.58, S.D. = .70) ความจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับมาก (x =4.45, S.D. = .70) ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์อยู่ในระดับมาก ( x = 4.43, S.D. = .78) และความชัดเจนของเป้าหมาย อยู่ในระดับมาก ( x = 4.40, S.D. = .77)
4.2 ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า ของโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านชุมโค ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x = 4.44, S.D. = .74) เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดและมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ความเหมาะสมของงบประมาณ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.53, S.D. = .71) ความพร้อมของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก (x = 4.45 , S.D. = .77) และความเหมาะสมของกิจกรรม อยู่ในระดับมาก (x = 4.35, S.D. = .76)
4.3 ผลการประเมินกระบวนการของโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านชุมโค ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)ภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับมาก ( x = 4.42, S.D. = .70) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การนิเทศติดตามและประเมินผล อยู่ในระดับมาก ( x = 4.49, S.D. = .71) การดำเนินการ อยู่ในระดับมาก ( x= 4.44, S.D. = .68) และการวางแผน อยู่ในระดับมาก ( x = 4.33, S.D. = .72)
4.4 ผลการประเมินผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านชุมโค ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่ได้กำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( x = 4.49, S.D. = .68) ซึ่งผลการประเมินตัวชี้วัดย่อยสรุปได้ดังนี้
4.4.1 ระดับความความรู้ความเข้าใจของนักเรียน ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.52, S.D. = .73) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ภาพรวม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.56, S.D. = .65) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.3 ระดับความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x = 4.39, S.D. = .66) และผ่านเกณฑ์การประเมิน