ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบรวมพลัง5ขั้นตอนเรื่องเวกเต
นางสาวณัฐพร เอี่ยมทอง ครูชำนาญการโรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) หลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ร่วมกับสื่อวิดิทัศน์ ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 79 คน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย ครูผู้สอน เพื่อนคู่คิด หัวหน้างานวิชาการ ร่วมกับรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ร่วมปฏิบัติการชี้แนะและสอนงานแบบพี่เลี้ยงผ่านการพัฒนาบทเรียนกับผู้วิจัย เครื่องมือทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ร่วมกับสื่อวิดีทัศน์ ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความสามารถในการเก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลจากการวิจัยพบว่า
จากผลการวิจัย พบว่า หลังจากการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (5 step) ร่วมกับสื่อวิดิทัศน์และใบกิจกรรม เรื่อง เวกเตอร์ ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในการเรียนรู้ออนไลน์ร่วมกับสื่อวิดิทัศน์และใบกิจกรรม เรื่อง เวกเตอร์ สูงขึ้น คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 12.99 คิดเป็นร้อยละ 86.01 ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับดี สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และจากการสะท้อนคิดของนักเรียน พบว่า มีความเข้าใจในเรื่องที่เรียน โดยการเรียนรู้แบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการตอบคำถามและเปลี่ยนความคิดเห็นในระบบออนไลน์กลุ่มห้องได้ดี นักเรียนมีความมั่นใจในการเรียนรู้พร้อมมีการเรียนรู้ รู้สึกสนุกต่อการเรียนและได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ผู้เรียนได้รับความรู้ กระบวนการทำงานและคุณลักษณะที่พึงประสงค์นักเรียนมีสุนทรียในการเรียนรู้
ขอบเขตของการวิจัย
1 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 79 คน
2 ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ การใช้แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน(5 step) ร่วมกับสื่อวิดิทัศน์และใบกิจกรรม ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รายวิชา ตรีโกณมิติ เมทริกซ์ เวกเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)
3 เนื้อหาวิชาที่ใช้ในการศึกษา คือ ปริมาณเวกเตอร์ ปริมาณสเกลาร์ การอ่านและการเขียนเวกเตอร์ เวกเตอร์แสดงทิศทาง ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รหัสวิชา ค32201 รายวิชา ตรีโกณมิติ เมทริกซ์ เวกเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
วิธีดำเนินการ
1 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
1.1 เครื่องมือทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน(5 step) ร่วมกับสื่อวิดิทัศน์และใบกิจกรรม ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เรื่อง เวกเตอร์
1.2 เครื่องมือวิจัย คือ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในการเรียนรู้ออนไลน์ร่วมกับสื่อวิดิทัศน์และใบกิจกรรมสร้างโดยผู้วิจัย
2 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม
1.1 ด้านเตรียมการจัดการชั้นเรียน
1) จัดทำเอกสารและสื่อการเรียนรู้
2) จัดเตรียมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 79 คน
1.2 ได้เตรียมวางแผนทำชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพนำไปทดลองดังนี้
1) องค์ประกอบของกลุ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ได้แก่
1.1) ครูผู้วางแผน (Planer)
1.2) ครูผู้ร่วมวางแผน (Co-Teacher)
1.3) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ (Mentor)
1.4) ผู้เชี่ยวชาญ
ระยะที่ 2 การดำเนินการรวบรวมข้อมูล
2.1 ผู้วิจัยปฐมนิเทศนักเรียนเกี่ยวกับระเบียบวินัยในการเรียน
2.2 ดำเนินการทดลองสอนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ครั้งที่ 1 เรื่อง เวกเตอร์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งผู้วิจัยได้นำผลจากการสะท้อนคิดของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และบันทึกประวัติการปฏิบัติการสอน (Log book) ครั้งนี้ ไปแก้ไขในแผนที่ 2
2.3 นำแผนการจัดการเรียนรู้แผนที่ 2 เรื่องเวกเตอร์ ไปทดลองสอนจำนวน 2 ชั่วโมงแล้วดำเนินการเหมือนข้อ 2.2
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัย พบว่า หลังจากการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (5 step) ร่วมกับสื่อวิดิทัศน์และใบกิจกรรม เรื่อง เวกเตอร์ ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา)ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในการเรียนรู้ออนไลน์ร่วมกับสื่อวิดิทัศน์และใบกิจกรรม เรื่อง เวกเตอร์ สูงขึ้น คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 12.99 คิดเป็นร้อยละ 86.01 ผ่านเกณฑ์การประเมิน อยู่ในระดับดี สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และจากการสะท้อนคิดของนักเรียน พบว่า มีความเข้าใจในเรื่องที่เรียน โดยการเรียนรู้แบบออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการตอบคำถามและเปลี่ยนความคิดเห็นในระบบออนไลน์กลุ่มห้องได้ดี นักเรียนมีความมั่นใจในการเรียนรู้พร้อมมีการเรียนรู้ รู้สึกสนุกต่อการเรียนและได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ผู้เรียนได้รับความรู้ กระบวนการทำงานและคุณลักษณะที่พึงประสงค์นักเรียนมีสุนทรียในการเรียนรู้
การอภิปรายผล
จากผลการวิจัย พบว่านักเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวกเตอร์ สูงขึ้น หลังการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน(5 step) ร่วมกับสื่อวิดิทัศน์และใบกิจกรรม ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อยู่ในระดับดี ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการใช้เรียนรู้ออนไลน์ร่วมกับกระบวนการแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนร่วมกับสื่อวิดิทัศน์และใบกิจกรรม ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เวกเตอร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัส ค32201 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เวกเตอร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 พบว่า การเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนาบทเรียน ผู้เรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ สูงกว่าก่อนการพัฒนาบทเรียน ทำให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความคิดตามลำดับ เป็นขั้นตอน ยอมรับและวิเคราะห์ ประเมินค่าในฐานข้อมูลที่กว้างขึ้น นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติเอง ในการสังเกต รวบรวม เปรียบเทียบ วิเคราะห์ความเหมือนความต่าง วิเคราะห์สรุป จึงทำให้นักเรียนทำผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวกเตอร์ได้
ดังนั้น จัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน(5 step) ร่วมกับสื่อวิดิทัศน์และใบกิจกรรม ด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 มัธยมสาธิตพัทยา ให้สูงขึ้นได้
ข้อเสนอแนะ
1. ผลการวิจัยที่ได้เป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนห้องอื่นๆ ต่อไปในระดับเดียวกัน ให้มีความสามารถทางการเรียนสูงขึ้น
2. เป็นแนวทางในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในเรื่องอื่นๆ ต่อไป