การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
The project evaluation on the development of Internal Education Quality Assurance System of Ban Pongyaengnai School.
สงวนศักดิ์ ปัญใจแก้ว
โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน สพป.ชม.2
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มศึกษาเป็นครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความเหมาะสมในแต่ละด้าน และเครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าด้านบริบทของโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.60) ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.49) ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.72) ด้านผลผลิตของโครงการพบว่า ผลการประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.78) ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพในระดับยอดเยี่ยม (x ̅= 4.72) และ (x ̅= 4.53) ตามลำดับ
คำสำคัญ: 1) การประเมินโครงการ 2) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 3) ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 4) โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
Abstract
The purposes of this research were to study on the development of Internal Quality Assurance system of Ban Pongyaengnai School in the academic year 2020. In 4 aspects includes: Context Evaluation, Input Evaluation, Process Evaluation, Product Evaluation. There are four study groups: teachers, school committee, students and parents. The instruments used are An opinion questionnaire on the level of suitability in each aspect and quality assessment tools according to educational standards is rating scale 5-level estimator. The statistics used in the data analysis were mean and standard deviation. The results showed that the context of the project There was an appropriateness at the highest level (x ̅= 4.60) in terms of the input of the project. It was appropriate at a high level (x ̅= 4.49). The project's operational process was at the most appropriate level (x ̅= 4.72) In terms of project productivity, it was found that The results of the assessment of the educational quality assurance system within the school in accordance with the school context The appropriateness was at the highest level (x ̅= 4.78). The results of quality assessment according to educational standards of educational institutions by the internal educational quality assurance system in early childhood education institutions. and the level of basic education They were of excellent quality (x ̅= 4.72) and (x ̅= 4.53), respectively.
Keywords: 1) Project evaluation 2) Development of Internal Education Quality Assurance System 3) Educational Quality Assurance System 4) Ban Pongyaengnai School
บทนำ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ในหมวดที่ 6 ว่าด้วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้ มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบ
การประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในมาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก และในมาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมาย หลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ ฯลฯ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545) กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 เพื่อให้เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดไว้ และสร้างระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีการประเมินผล การติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา โดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชน ว่าสถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และบรรลุเป้าประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแล ซึ่งกำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด พร้อมทั้งจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามาตรฐานการศึกษา และจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงาน ที่กำกับดูแลสถานศึกษาเป็นประจำทุกปีและเพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา (ราชกิจจานุเบกษา, 2561) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงประกาศ แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 โดยกำหนดให้ให้สถานศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนา และเพื่อเป็นกลไกในการควบคุมตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม ชุมชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2561)
ดังนั้นสถานศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินการจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการบริหารจัดการ และการกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงในในฐานะหน่วยงานที่จัดการศึกษาและรับผิดชอบ ในการจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้ดำเนินการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะและสอดคล้องกับสภาพบริบท ภูมิสังคม ความจำเป็นต้องการ ความหลากหลายเชิงเศรษฐกิจ พหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุและเป็นไปตามที่กำหนดไว้ โดยจัดทำโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนสำคัญได้แก่ 1) การกำหนดมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษา 2) การกำหนดรูปแบบและคู่มือเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
3) การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 4) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
5) การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 6) การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา 7) การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้สถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาสอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียนและเพื่อให้การดำเนินงานของสถานศึกษาเกิดประโยชน์สูงสุดและบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
อันเป็นหลักประกันด้านคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และ
มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งการสร้างและพัฒนาระบบประกันภายในของสถานศึกษาที่เข้มแข็ง จะสามารถรองรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา องค์กรมหาชน (สมศ.) การประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด และการประเมินอื่น ๆ ให้ผ่านเกณฑ์ตาม
มาตรฐานต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาแล้วทางโรงเรียนจึงได้ประเมินและศึกษาผลการประเมินโครงการ ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศ และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่ได้มาช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อปรับปรุง พัฒนาโครงการ ให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาผลการประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
2. เพื่อศึกษาผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
3. เพื่อศึกษาผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
4. เพื่อศึกษาผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
วิธีการดำเนินการวิจัย
ประชากร ที่ใช้เป็นกลุ่มศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 305 คน
ตัวแปร
ตัวแปรต้น ได้แก่ ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน
บ้านโป่งแยงใน
ตัวแปรตาม ได้แก่ คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
ขอบเขตของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 ปีการศึกษา 2563 โดยได้กำหนดขอบเขต
ของการประเมิน ดังนี้
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
ในการศึกษาประเมินโครงการครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการประเมิน (CIPP Model) มาประยุกต์ใช้ โดยแบ่งการประเมินเป็น
4 ด้าน ได้แก่
1.1 ด้านบริบทของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ประกอบด้วยความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้อง ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน กับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภารกิจหลักของโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน และสภาพบริบท ความต้องการของนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่น
1.2 ด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยนำเข้าของโครงการ ได้แก่ ความเหมาะสมและความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ สื่อวัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการในการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
1.3 ด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียน
บ้านโป่งแยงใน ได้แก่ กระบวนการดำเนินงานและความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
1.4 ด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงในประกอบด้วย
1.4.1 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน
1.4.2 คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2. ขอบเขตด้านเวลา
ระยะเวลาการดำเนินงานและการประเมินโครงการอยู่ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 – 30 เมษายน 2564
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยได้ดำเนินการประเมินผลโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน เพื่อให้ได้ผลการประเมินครั้งนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ CIPP Model
(Stufflebeam, 1971) โดยได้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
ในการประเมิน ด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้
1.1 แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มศึกษา เป็นครูผู้สอน จำนวน 12 คน ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2562
1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1) ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ
ตอนที่ 2 ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับความจำเป็น ความเหมาะสม และความสอดคล้อง
ของโครงการลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ
2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมิน กำหนดกรอบแนวคิดในการรายงานการประเมิน จากนั้นกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อเป็นแนวทาง
ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) รวบรวม สรุปข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงแก้ไขและหาความสอดคล้อง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (IOC) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try-out) กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มศึกษา และนำข้อมูลมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficients Alpha)
1.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ประเมินด้านบริบทก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563 โดยเก็บรวบรวมข้อมูล
จากกลุ่มศึกษา จำนวน 12 คน ได้แบบสอบถามกลับคืนมาและสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100
1.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ระดับ
ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
ในการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้
2.1 แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มศึกษา เป็นครูที่รับผิดชอบโครงการ จำนวน 5 คน ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียน
บ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563
2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1) ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ
ตอนที่ 2 ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับความเหมาะสมและความเพียงพอในปัจจัยนำเข้าของโครงการ ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ
2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมิน กำหนดกรอบแนวคิดในการรายงานการประเมิน จากนั้นกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) รวบรวม สรุปข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงแก้ไขและหาความสอดคล้อง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (IOC) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try-out) กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มศึกษา และนำข้อมูลมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficients Alpha)
2.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1/2563 ได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มศึกษา จำนวน 5 คน ได้แบบสอบถามกลับคืนมาและสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100
2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ระดับ
ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
ในการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้
3.1 แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มศึกษา เป็นครูผู้สอน จำนวน 12 คน ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
ปีการศึกษา 2563
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1) ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ
ตอนที่ 2 ถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานและความก้าวหน้าของโครงการ ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ
2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมิน กำหนดกรอบแนวคิดในการรายงานการประเมิน จากนั้นกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อเป็นแนวทาง
ในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) รวบรวม สรุปข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงแก้ไขและหาความสอดคล้อง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (IOC) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try-out) กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มศึกษา และนำข้อมูลมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficients Alpha)
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน ก่อนปิดภาคเรียนที่ 2/2563 ได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มศึกษา จำนวน 12 คน ได้แบบสอบถามกลับคืนมาและสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ระดับ
ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน
ในการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้
ตอนที่ 4.1 การประเมินความสอดคล้องของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษากับสภาพบริบทของโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้
4.1.1 แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มศึกษา ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน และครูผู้สอน ที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 19 คน
4.1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1) ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ
ตอนที่ 2 ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสอดคล้องของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา กับสภาพบริบทของโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน
35 ข้อ
2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมิน กำหนดกรอบแนวคิดในการรายงานการประเมิน จากนั้นกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) รวบรวม สรุปข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงแก้ไขและหาความสอดคล้อง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (IOC) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try-out) กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มศึกษา และนำข้อมูลมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficients Alpha)
4.1.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ประเมินด้านผลผลิต สิ้นปีการศึกษา 2563 ได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มศึกษา จำนวน 19 คน ได้แบบสอบถามกลับคืนมาและสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 100
4.1.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ระดับ
ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.)
ตอนที่ 4.2 การประเมินประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีต่อคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนบ้านโป่งแยงแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้
4.2.1 แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล ได้แก่ กลุ่มศึกษาประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน และนักเรียนโรงเรียนบ้านโป่งแยงใน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 305 คน
4.2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
1) ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่เครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 เครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย จำนวน 3 มาตรฐาน 14 ตัวชี้วัด ลักษณะของแบบประเมินเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
ตอนที่ 2 เครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 มาตรฐาน 27 ตัวชี้วัด ลักษณะของแบบประเมินเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
2) การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการประเมิน กำหนดกรอบแนวคิดในการรายงานการประเมิน จากนั้นกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยกำหนดเกณฑ์และรายการประเมินแบบองค์รวม (Holistic Assessment) และเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) รวบรวม สรุปข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงแก้ไขและหาความสอดคล้อง ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามตามเนื้อหา และวัตถุประสงค์ (IOC) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (try-out) กับกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกลุ่มศึกษา และนำข้อมูลมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficients Alpha)
4.2.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ประเมินด้านผลผลิตสิ้นปีการศึกษา2563 ได้เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 305 คน
4.2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์ระดับ
ความคิดเห็น ใช้ค่าเฉลี่ย (Mean : x ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) และพิจารณาตัดสินระดับคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Assessment) โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence Based)
สรุปผลการวิจัย
การศึกษาผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน สรุปผลได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
ภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน พบว่า บริบทของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (x ̅= 4.60) โดยลำดับสูงสุดคือ ความสอดคล้องที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (x ̅= 4.63 ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความจำเป็นของโครงการ (x ̅= 4.62) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับต่ำสุดคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ
(x ̅= 4.55) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงในพบว่า ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
(x ̅= 4.49) โดยลำดับสูงสุดคือ ด้านการบริหารจัดการ (x ̅= 4.60) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านบุคลากร (x ̅= 4.56) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านวัสดุครุภัณฑ์ (x ̅= 4.52) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนลำดับต่ำสุดคือ ด้านงบประมาณ (x ̅= 4.28) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน พบว่า ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการโดยภาพรวม มีความเหมาะสม
อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.72) โดยลำดับสูงสุด มีจำนวน 4 รายการ คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบกิจกรรมในโครงการ การกำหนดระยะเวลาดำเนินกิจกรรมในโครงการ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ และผู้บริหารสถานศึกษาสามารถให้ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ (x ̅= 5.00) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา จำนวน 2 รายการ คือ การประชุมวางแผนก่อนการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการบริหารและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมในโครงการ (x ̅= 4.92) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมา จำนวน 3 รายการ คือ การประชุม นิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินกิจกรรมในโครงการ การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศของกิจกรรมในโครงการ ความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการ (x ̅= 4.83) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมา จำนวน 5 รายการคือ ความชัดเจนของแผนการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม กระบวนการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ การประสานงานการดำเนินกิจกรรมของแต่ละฝ่าย ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมมีการพัฒนาและปรับปรุงในการดำเนินกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ การดำเนินกิจกรรมในโครงการสำเร็จตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด (x ̅= 4.42) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนลำดับต่ำสุดคือ ความราบรื่นของการดำเนินกิจกรรมในโครงการ
(x ̅= 4.33) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนบ้านโป่งแยงใน แบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้
4.1 ผลการประเมินระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.78) โดยลำดับสูงสุดคือ การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา (x ̅= 4.92) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (x ̅= 4.88) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับถัดมาคือ การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (x ̅= 4.85)
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (x ̅= 4.83) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด การกำหนดร