การพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) พัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง
คุณธรรมอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้ CHANGE MODEL โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 – 2563 2) ศึกษาคุณภาพของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้ CHANGE MODEL โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 3) ศึกษาคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน โดยใช้ CHANGE MODEL โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายองค์กรชุมชนต่อการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้ CHANGE MODEL โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 354 คน กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2562 จำนวน 136 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 132 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 354 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้แทนจากเครือข่ายองค์กรชุมชน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 18 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale ) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 3 ฉบับทุกฉบับมีการตรวจคุณภาพของเครื่องมือได้ความเชื่อมั่นระหว่าง .86 - .96 สถิติที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน จำนวน 1 ฉบับ
ผลการวิจัยพบว่า
1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้ CHANGE MODEL โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =
4.03, S.D. = .04 ) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยคุณภาพสูงสุด อยู่ในระดับมาก = 4.07, S.D. = .18) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียนมีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ( = 4.04, S.D. = .06) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยคุณภาพต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 3.99, S.D. = .06)
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =
4.32, S.D. = .06 ) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยคุณภาพสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D. = .09) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = .12) ( = 4.34, S.D. = . 22) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยคุณภาพต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.23, S.D. = .09) แสดงว่า ปีการศึกษา 2563 มีค่าพัฒนาสูงกว่าปีการศึกษา 2562 โดยมีค่าพัฒนาภาพรวมเท่ากับ +0.29 สอดคล้องกับสมมติฐาน
2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับคุณภาพของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้ CHANGE MODEL โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 – 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.13, S.D. = .35 ) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ปกครอง มีคุณภาพค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D. = .66) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียนและกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.11, S.D. = .99) ( = 4.11, S.D. = .16) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยคุณภาพต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.08, S.D. = .16)
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = .18 ) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ปกครอง มีคุณภาพค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = .24) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียนและกลุ่มครู อยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = .24) ( = 4.41, S.D. = .18) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยคุณภาพต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.37, S.D. = .16) แสดงว่า ปีการศึกษา 2563 มีค่าพัฒนาสูงกว่าปีการศึกษา 2562 โดยมีค่าพัฒนาภาพรวมเท่ากับ +0.28 สอดคล้องกับสมมติฐาน
3. สรุปผลผลการเปรียบเทียบการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย โดยใช้ CHANGE MODEL โดยครูที่ปรึกษาเป็นผู้สังเกตพฤติกรรมนักเรียนเป็นรายบุคคลหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 และ 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 พฤติกรรมที่สะท้อนคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน ตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่1) รู้หน้าที่ 2) ซื่อสัตย์ และ 3) ปฏิบัติตามกฎ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 92.93 - 93.22
ปีการศึกษา 2563 พฤติกรรมที่สะท้อนคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน ตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 3 ด้านได้แก่ 1) รู้หน้าที่ 2) ซื่อสัตย์ และ 3) ปฏิบัติตามกฎ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ระหว่าง 95.42 -97.69 แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมที่สะท้อนคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน ปีการศึกษา 2563 มีการพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2562 ทุกด้าน สอดคล้องกับสมมติฐาน
4. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อการพัฒนาคุณธรรมอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้ CHANGE MODEL โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยวิทยาลัย ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทนจากองค์กรเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2562 – 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D. = .16 ) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = .24) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ( = 4.40, S.D. = .17) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยคุณภาพต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.18, S.D. = .11)
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = .15 ) เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = .11) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = .16) ( = 4.41, S.D. = .18) ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.47, S.D. = .15) แสดงว่า ปีการศึกษา 2563 มีค่าพัฒนาสูงกว่าปีการศึกษา 2562 โดยมีค่าพัฒนาภาพรวมเท่ากับ +0.28 สอดคล้องกับสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม
อัตลักษณ์ผู้เรียน โดยใช้ CHANGE MODEL โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 – 2563
ครั้งนี้ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่นของการมีแบบอย่างที่ดีซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการเสริมสร้างคุณธรรมอัตลักษณ์ผู้เรียน ต่อไป
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
1. ด้าน Create sense of urgency การสร้างสำนึกแห่งความเร่งด่วน สถานศึกษา
อื่นควรสร้างสำนึกแห่งความเร่งด่วน โดยใช้กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจ การติดต่อ ส่งผ่านข้อมูล ความคิด ความเข้าใจ หรือความรู้สึกระหว่างบุคคลภายในโรงเรียนให้ทราบถึงเหตุผลความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารที่ดีที่จะช่วยสร้างความเข้าใจในนโยบายของผู้บริหาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรภายในโรงเรียน ผู้บริหารควรเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. ด้าน Head ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง/ริเริ่มแนวทางร่วมกัน ผู้บริหารสถานศึกษา
ควรมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงความเป็นผู้นำที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สามารถชี้แนะหรือนำพา สมาชิกในการร่วมมือขับเคลื่อนพัฒนาโรงเรียนอย่างสร้างสรรค์ ปัจจัยสำคัญที่นำมาซึ่งความสำเร็จของการ เป็นผู้นำนั้น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรง การปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ และมีความโปร่งใส
3. ด้าน Activity กิจกรรมที่หลากหลายควรเกิดจากการร่วมคิด ร่วมทำ การนิเทศ
ติดตาม การเสริมแรง รวมถึงกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในทุกด้าน เช่นกิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมนอกห้องเรียน และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร ควรมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
4. ด้าน Network ภาคีเครือข่าย ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการสร้างเครือข่ายความ
ร่วมมือที่อยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในวัตถุประสงค์การทำงาน ร่วมกัน การแบ่งงานกันทำ การแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน บทบาทของความร่วมมือจะแผ่ขยายออกไป จากการให้ความร่วมมือทางด้านการศึกษาไปสู่ความร่วมมือในการ สร้างความเข้มแข็งในด้านอื่น ๆ เช่นการร่วมกันดูแลช่วยเหลือนักเรียน การระดมทรัพยากร และการสนับสนุนบุคลากร
5. ด้าน Good Governance หลักธรรมาภิบาล ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำหลักใน
การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี โดยใช้หลักการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมประเมินผล อย่างโปร่งใส ยึดหลักความถูกต้องตามระเบียบวิธีปฏิบัติและหลักคุณธรรม ภายใต้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6. ด้าน Environment การพัฒนาสภาพแวดล้อม สื่อต้นแบบ สถานศึกษาควรจัด
สภาพแวดล้อมที่เป็นสื่อต้นแบบต้นแบบที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีจะเป็นส่วน ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งที่จะส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการ มีความปลอดภัย มีแรงจูงใจทำให้เกิดความสุขและประสบผลสำเร็จ เนื่องจากสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่วัดมวลประสบการณ์แก่นักเรียน ทั้งทางตรงและทางอ้อมผู้เรียนได้รับการจัดการเรียนการสอนตามธรรมชาติ ได้ฝึกปฏิบัติจริง ดังนั้นสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาจึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้เรียนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้าน ความรู้ ความคิด บุคลิกภาพ มีความรับผิดชอบและประสบผลสำเร็จในอนาคต
7. หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมที่สะท้อนคุณธรรมอัตลักษณ์
อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความคงทน ต่อเนื่องและยั่งยืนของพฤติกรรมคุณธรรมอัตลักษณ์ผู้เรียนและทบทวนกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุง พัฒนา ค่าเป้าหมาย เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของโรงเรียน และบริบทของสถานศึกษา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณธรรมอัตลักษณ์ของผู้เรียน
2. ควรศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ใน
ศตวรรษที่ 21
3. ควรศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของ
นักเรียนในด้านอื่นๆ