LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้านการอ่าน

usericon

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับด้านพฤติกรรมที่บ่งบอกความสามารถในการอ่านในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้านความสามารถในการอ่านของพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงาน วิชาการแบบมีส่วนร่วมด้านความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ติดตาม ผลลัพธ์ (Results of Implementation) พฤติกรรมนิสัยการอ่าน (Behavioral Outcome) ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จํานวน 21 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้บริหาร จํานวน 2 คน (ผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ) คณะครู จํานวน 4 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 15 คน 2) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยหรือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จํานวน 372 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (เข้าร่วมโครงการเป็นเวลา 2 ปี ในปีการศึกษา 2564 และปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จํานวน 186 คน (เลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมดที่สถานศึกษาเปิดสอน จำนวน 4 ห้องเรียน) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จํานวน 186 คน (เลือกผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาครอบครัวละ 1 คน) ครูประจําชั้น จํานวน 4 คน (เลือกครูประจำชั้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่สอนรายวิชาภาษาไทย) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นจํานวน 1 ฉบับ แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 9 ฉบับ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน จํานวน 2 ฉบับ ฉบับมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.96 และ 0.98 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพและปัญหาด้านพฤติกรรมที่บ่งชี้ความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำแนกได้ 6 ประเด็น ดังนี้ (1.1) ด้านการอ่านออกเสียง (1.2) ด้านการแบ่งวรรค (1.3) เจตคติที่มีต่อการอ่านออกเสียง (1.4) การใช้น้ำเสียง (1.5) ลักษณะและท่าทางในการอ่านออกเสียง (1.6) ความสามารถในการจับใจความตามเนื้อเรื่องของผู้อ่าน 2) รูปแบบการบริหาร งานวิชาการแบบมีส่วนร่วมด้านความสามารถในการอ่านของพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart เป็นกระบวนการดําเนินการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมด้านความสามารถในการอ่านที่เป็นวงจร PAOR & R (B) ประกอบด้วย (1) ขั้นการวางแผน (2) ขั้นปฏิบัติการ (3) ขั้นสังเกตการณ์ (4) ขั้นสะท้อนผล และ 5) ขั้นผลลัพธ์ ความสามารถในการอ่านและพฤติกรรมนิสัยการอ่าน 9 กิจกรรม 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถในด้านการอ่านดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการฝึก จำนวน 9 กิจกรรม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 4) ผลการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านนิสัยการอ่าน (Behavioral Outcome) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการฝึกความสามารถในด้านการอ่าน จำนวน 9 กิจกรรม นักเรียนมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนด้านนิสัยการอ่านอยู่ในระดับสูง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^