รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ความต้องการพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และ 4) เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ใช้การวิจัยและพัฒนา กำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นการกำหนดตามความสอดคล้องกับกระบวนการของการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ประกอบด้วย 1) กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการต้องการพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ได้แก่ ครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนชุมชนบ้านยางสีสุราช จำนวน 7 คน โดยการใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาความต้องการพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 3 กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินทดลองใช้รูปแบบได้แก่ ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 7 คนและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 143 คน ของโรงเรียนชุมชนบ้านยางสีสุราชโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาของโรงเรียนชุมชนบ้านยางสีสุราชจำนวน 64 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ด้วยการจัดประชาพิจารณ์แล้วตอบแบบสอบถามความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ความต้องการพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ในภาพรวม สภาพปัจจุบันของการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน อยู่ในระดับปานกลาง ความต้องการในการพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแนวทางที่ควรพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ต้องเป็นแนวทางที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ และสามารถได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด โดยโรงเรียนต้องจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดสภาพแวดล้อมห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุดที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และควรกำหนดไว้ในโครงสร้างหลักสูตรหรือแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
2. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (P=planning) ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ (D=development) ขั้นตอนที่ 3 การจัดการเรียนรู้ (I=instructional) ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผล (E= evaluate) และผลการประเมินรูปแบบการดำเนินการตามรูปแบบจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อพิจารณาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีความเหมาะสม ชัดเจน และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ได้สามารถเรียนรู้กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง หลากหลาย ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และตามความสนใจ
3. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยภาพรวมมีการปฏิบัติ/เห็นด้วยอยู่ในระดับ มากที่สุด และการสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทั้งนี้ เนื่องจากรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนมีความหลากหลาย มีความเหมาะสมกับนักเรียน และสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ นอกจากนี้ครูก็มีแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียน
4. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาโดยภาพรวมเห็นด้วยกับรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะการพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน มีขั้นตอนการพัฒนารูปแบบที่ชัดเจน มีรูปแบบการดำเนินการที่สอดคล้องการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักการของการเรียนรู้