LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ บูรณาการตามแนวคิดพหุ

usericon

นฤนาด เชิดแสง
Narunard Cherdsang
กองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Education Division, Tha Kham Municipality, Phunphin District, Surat Thani
E-mail: koonad29@gmail.com
บทคัดย่อ
    บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการตามแนวคิดพหุปัญญา 2) หาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียน และ 4) เปรียบเทียบพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ระหว่างการเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาและโดยใช้สมองเป็นฐาน โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาเอกสารและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนารูปแบบ 3) การทดลองใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินผลรูปแบบ. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม 4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 63 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 20 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบความสามารถด้านสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ตามแนวพหุปัญญา มีค่าเท่ากับ 84.75 และโดยใช้สมองเป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 80.42. 2) ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ตามแนวพหุปัญญา มีค่าเท่ากับ 0.7355 แสดงว่า เด็กมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.55 และการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 0.6627 แสดงว่า เด็กมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.27 3) หลังการเรียนรู้ตามแนวพหุปัญญาเด็กมีพัฒนาการสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เด็กมีพัฒนาการสูงกว่าก่อนเรียน 4) เด็กที่เรียนรู้ตามแนวพหุปัญญามีพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ สูงกว่าการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้, แนวคิดพหุปัญญา, การใช้สมองเป็นฐาน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^