การประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
ผู้ประเมิน นายจรัญ หวานคำ
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
ปีพุทธศักราช 2563
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 3) เพื่อประเมินกระบวนการในการดำเนินงานโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 กลุ่มประชากรที่ใช้ใน การประเมินโครงการการพัฒนาการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ครั้งนี้ จำนวน 2,368 คน ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2,174 คน ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 100 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 87 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการดำเนินงานตามโครงการ การพัฒนา การอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 สำหรับครูผู้สอนวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ มีจำนวน 5 ฉบับ โดยแบบสอบถามฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านบริบทได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.426-0.868 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.910 ฉบับที่ 2 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.433-0.872 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.909 ฉบับที่ 3 แบบประเมินด้านกระบวนการ (Process) ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.402-0.839 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.916 ฉบับที่ 4 แบบประเมินด้านผลผลิต (Output) เกี่ยวกับระดับความสำเร็จของการจัดกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมของโครงการ ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.429-0.839 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.942 และฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิต (Output) เกี่ยวกับของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.533-0.864 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.941 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เครื่องมือคัดกรอง“ความสามารถในการอ่านและการเขียน”ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ของโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียน
ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ พบว่า มีความสอดคล้อง ความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64, S.D =0.48) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( 3.51,
S.D 1)
2.ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ การพัฒนาคุณภาพการอ่าน การเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ พบว่า มีความพร้อมความเพียงพอ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.69, S.D=0.45) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( 3.51, S.D 1)
3.ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ในการดำเนินงานโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่าน การเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ พบว่า มีการปฏิบัติ มีระดับคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.46, S.D=0.56) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( 3.51, S.D 1)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ พบว่า มีความสำเร็จโดยรวมของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64,
S.D =0.48) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( 3.51, S.D 1)
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ผลการทดสอบการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบการอ่านการเขียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ก่อนการประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระยอง เขต 2 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.48 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 คิดเป็นร้อยละ 48.06 ของคะแนนเต็ม และคะแนนเฉลี่ยหลังประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.86 คะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.02 คิดเป็นร้อยละ 85.84 ซึ่งผลการทดสอบหลังการประเมินโครงการสูงกว่า ก่อนการประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลังการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, S.D=0.42) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ( 3.51, S.D 1)