รายงานผลการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเร
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อรายงานผลการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านจันทร์ ปีการศึกษา 2563 โดยใช้การประเมินแบบ CIPP MODEL โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบผลการประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านจันทร์ ปีการศึกษา 2563 2) เพื่อทราบผล การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านจันทร์ ปีการศึกษา 2563 3) เพื่อทราบผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านจันทร์ ปีการศึกษา 2563 และ 4) เพื่อทราบผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านจันทร์ ปีการศึกษา 2563
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านจันทร์ ปีการศึกษา 2563 พบว่าโดยรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการที่มีผลการประเมินโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียน รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ และหลักการและเหตุผลของโครงการความสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านจันทร์ ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยรวมมีความเพียงพอเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รายการที่มีผลการประเมินโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกิจกรรม พัฒนานักเรียน รองลงมาคือ ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกิจกรรม พัฒนาบุคลากรให้เข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกิจกรรม ขยายผลการดำเนินโครงการสู่สถานศึกษาอื่น ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ครูและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านจันทร์ ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวม พบว่า โดยรวม มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีผลการประเมินโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการขยายผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาใกล้เคียงหรือสถานศึกษาที่สนใจ รองลงมาคือ ด้านการบริหาร และด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากร
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านจันทร์ ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวม พบว่า โดยรวมมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า กิจกรรมที่มีผลการประเมินโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ กิจกรรมการพัฒนาการบริหารจัดการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านจันทร์ รองลงมาคือ กิจกรรมการพัฒนาขยายผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปยังสถานศึกษาใกล้เคียงหรือสถานศึกษา และกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำมาบูรณาการกับหลักสูตรสถานศึกษา ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ กิจกรรมการพัฒนาผู้บริหาร ครู นักเรียน (การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ)