การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ผู้วิจัย นางชนิดา พักพันธ์
สังกัด โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1 ห้อง จำนวน 43 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยที่มีนักเรียนคละความสามารถทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (จำนวน/ร้อยละ) วิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีในการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้ปัญหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ คือ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอน/กระบวนการของรูปแบบ และการประเมินรูปแบบ โดยมี CAFE Model แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเชื่อมโยงปัญหา ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ขั้นหาคำตอบและแสดงคำตอบของปัญหา และ 4) ขั้นประเมินผลงาน
2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
2.1 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ CAFE Model เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.73/83.37 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ตามรูปแบบ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ผลการวัดทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.53)