รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6(อ16101)_ครูขวัญใจ
วิจัยเรื่อง: รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อ
ความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล
ผู้วิจัย: นางสาวขวัญใจ นวลปาน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน: โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร สังกัดกองการศึกษา
ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย: 2563
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล และ (4) เพื่อประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากโดยใช้หน่วยโรงเรียนเป็นหน่วย ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูประจำวิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนในสังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพรกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เครื่องมือขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันในการจัดการสอนเพื่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สังกัดเทศบาลเมืองปะทิว จำนวน 27 ข้อ และ 2) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการสอนเพื่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สังกัดเทศบาลเมืองปะทิว เครื่องมือที่ใช้ในทดลองใช้ มี 5 ชนิด ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โปรแกรมเล่นแบบร่วมมือปนเรียน (PACLP) วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ที่มีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล จำนวน 4 หน่วย ๆ ละ 5 แผน รวมทั้งสิ้น 20 แผน 2) แบบฝึกทักษะวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) เพื่อพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล จำนวน 4 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 MY SCHOOL เล่มที่ 2 MY SELF เล่มที่ 3 ALL AROUND ME และ เล่มที่ 4 MY JOPS 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 6) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท (Linkert) ซึ่งมี 5 ระดับ คือ พึงพอใจมากที่สุด พึงพอใจมาก พึงพอใจปานกลาง พึงพอใจน้อย พึงพอใจน้อยที่สุด จำนวน 10 ข้อ และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรูปแบบ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล ของผู้เชี่ยวชาญ และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเทศบาลเมืองปะทิว จำนวน 24 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การทดสอบที (t-test Dependent Sample) และค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I)
ปรากฏผลการวิจัยและพัฒนา ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการสอนเพื่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ปรากฏผลดังนี้
1.1 สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับปานกลาง
1.2 ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร จำนวน 5 คน มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหา เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนา คุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล ปรากฏผลดังนี้
2.1 ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามความยาวของเนื้อหา
2.3 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล เท่ากับ 85.07/81.11, 84.28/82.22, 84.93/80.44 และ 86.35/80.32 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ทุกครั้ง
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล ปรากฏผลดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรื่อง การอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) และ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล มีค่าดัชนีประสิทธิผล ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) เท่ากับ 0.6728 หรือคิดเป็น ร้อยละ 67.28 และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไทย เท่ากับ 0.7059 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.59
3.3 ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxล อยู่ในระดับมาก
4. ผลประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 (อ16101) ทีมีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสหกรณ์ประชานุxxxลนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด