LASTEST NEWS

29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่าน            กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา
ผู้วิจัย        วัชจิรา ชูสิน
ปีที่วิจัย        2563
บทคัดย่อ
        การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยและพัฒนารูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพ(ร่าง)รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาการพัฒนารูปแบบการนิเทศ เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1) การสนทนากลุ่มอย่างเป็นทางการของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสงขลา 2) การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการนิเทศ รูปแบบการนิเทศ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพ(ร่าง)รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1) การยกร่างรูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model 2) การตรวจสอบคุณภาพ(ร่าง)รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1) การจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติตามรูปแบบ 2) การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model ได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา จำนวน 5 โรงเรียน โดยหา 1.1) ประสิทธิภาพของรูปแบบตามเกณฑ์ที่วางไว้ 80/80 ได้ทำการทดลองกับครูกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน โดยแบ่งทีม PLC จำนวน 20 ทีม ๆ ละ 5 คน โดยแต่ละทีม ประกอบด้วย ครูผู้รับการนิเทศ (Model Teacher) จำนวน 1 คน และครูคู่นิเทศ (Buddy Teacher) จำนวน 4 คน ทำหน้าที่คู่นิเทศและให้การนิเทศครูผู้รับการนิเทศ โดยในแต่ละทีมจะนิเทศร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา (Administrator) พี่เลี้ยง (Mentor) ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) รวม 3 คน นิเทศครูผู้รับการนิเทศ คนละ 3 วงรอบ ดำเนินการตามคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ 1.2) ประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model ได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเจาะจงจาก นักเรียนที่เรียนกับครูผู้รับการนิเทศ (Model Teacher) ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model โดยประเมินผลสรุปรวม (Summative Evaluation) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1) สอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้รูปแบบของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับการนิเทศ ครูคู่นิเทศ และนักเรียนที่เรียนกับครูผู้รับการนิเทศ 2) สัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน เกี่ยวกับการใช้รูปแบบการนิเทศ
        ผลการศึกษา ขั้นตอนที่ 1 ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบการนิเทศ 1) ผลการประชุมสนทนากลุ่มอย่างเป็นทางการได้ประเด็นปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า โรงเรียนต้องการให้แก้ปัญหาด้านเทคนิควิธีสอนในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ หรือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และหาวิธีช่วยเหลือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพให้แก่ครู การพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 2) ผลการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการนิเทศ รูปแบบการนิเทศ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ผลการสังเคราะห์ข้อมูล ได้แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) และรูปแบบ (Model) ในการ(ร่าง)รูปแบบการนิเทศ ขั้นตอนที่ 2 ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพ(ร่าง)รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา พบว่า 1) ผลการยกร่างรูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model ได้รายละเอียดสำคัญ ได้แก่ ชื่อรูปแบบการนิเทศ คำชี้แจง วัตถุประสงค์ แนวคิดและหลักการที่ใช้ในรูปแบบการนิเทศ กิจกรรมและกระบวนการนิเทศ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพ(ร่าง)รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model โดยรวมพบว่า(ร่าง)รูปแบบการนิเทศมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.35) และมีความสอดคล้อง (IOC) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของรูปแบบ ตั้งแต่ 0.85 – 1.00 ขั้นตอนที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model พบว่า 1) ผลการจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ สามารถใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินการตามรูปแบบการนิเทศ 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model พบว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบจากคะแนนผลการนิเทศ (Model Teacher) จำนวน 20 คน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 84.72 และคะแนนผลการประเมินผลงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ของครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 20 คน โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 82.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่วางไว้ 80/80 และประสิทธิผลของรูปแบบจากคะแนนทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนกับครูผู้รับการนิเทศ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบที ( t-test) พบว่า มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ขั้นตอนที่ 4 ผลการประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model พบว่า 1) ความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้รูปแบบการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.42) และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.16) และ 2) ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนต่อรูปแบบการนิเทศ KRUDEE Model มีความคิดเห็นว่า รูปแบบการนิเทศมีคุณภาพและมีความเหมาะสมต่อการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ของครู
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^