เผยแพร่ผลงาน
ในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย นางสุปรีดา นาพี ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหง-โกลก
จังหวัดนราธิวาส
ปีที่วิจัย พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (Implement : l) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (Evaluation : E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t – test (Independent Sample t – test)
ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูลพื้นฐานบุคคล สามารถกำหนดเป็นนิยาม องค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบของความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเอง และแนวทางการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเอง พบว่า ระดับพฤติกรรมที่แสดงถึงการรับรู้ การทำความเข้าใจกับปัญหา และการคิดหาเหตุผล เพื่อแสวงหาทางเลือกมาปฏิบัติในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการใหม่ที่ต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หลากหลายมากกว่าหนึ่งวิธีหรือหนึ่งแนวคิด และทำการประเมินข้อค้นพบสำหรับการแก้ปัญหา สามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1 ขั้นกระตุ้นเร้า (Stimulus : S) 2. ขั้นวางแผน (Plan : P)
3 ขั้นเรียนรู้ (Active Learning : A) 4 ขั้นซ้ำย้ำทวน (Repeat : R) 5 ขั้นสรุปและการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism : C) และ 6 ขั้นประยุกต์ใช้ (Application : A)
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.40- 5.00) และความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเอง ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.68, S.D. = 0.47)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ทำให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
4.1 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังใช้รูปแบบ
การจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
4.2 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความเชื่อมั่นในตนเองหลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
4.3 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์