เผยแพร่ผลงาน
เชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย นางอุษาวดี ซงตายา ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ มี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป และแบบวัดการคิดเชิงเหตุผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติของวิลคอกซอน (The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของการคิด เชิงเหตุผล คิดเป็นร้อยละ 53.33 และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของการคิดเชิงเหตุผลคิดเป็นร้อยละ 82.71 เมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า
1.1 ด้านการเปรียบเทียบ ก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของด้านการเปรียบเทียบ คิดเป็นร้อยละ 57.92 และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของด้านการเปรียบเทียบ คิดเป็นร้อยละ 84.38
1.2 ด้านการจัดประเภท ก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของด้านการจัดประเภท คิดเป็นร้อยละ 56.46 และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของด้านการจัดประเภทคิดเป็นร้อยละ 82.29
1.3 ด้านการสรุปความก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของด้านการสรุปความ คิดเป็นร้อยละ 45.63 และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของด้านการสรุปความคิดเป็นร้อยละ 81.46
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผล สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์การคิดเชิงเหตุผลด้านการเปรียบเทียบ ด้านการจัดประเภทและด้านการสรุปความ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05