การประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว โรงเรียนเฉลีย
ชื่อผู้รายงาน นายรวีวัฒน์ วุฒิไชยา ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเฉลียงพิทยาคม
คำสำคัญ การประเมินโครงการ/ศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
ปีที่รายงาน 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว โรงเรียนเฉลียงพิทยาคม ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว โรงเรียนเฉลียงพิทยาคม 8 ด้าน คือ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ 5) เพื่อประเมินด้านผลกระทบของโครงการ 6) เพื่อประเมินด้านประสิทธิผลของโครงการ 7) เพื่อประเมินด้านความยั่งยืนของโครงการ และ 8) เพื่อประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ของโครงการ โดยใช้วิธีการประเมินของ Daniel L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครู จำนวน 18 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน นักเรียน จำนวน 170 คน นักเรียนมัคคุเทศก์น้อย จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 171 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว โรงเรียนเฉลียงพิทยาคมในภาพรวม พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบทมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านผลกระทบ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านประสิทธิผล ด้านถ่ายโยงความรู้ ด้านความยั่งยืน ด้านผลผลิตและด้านกระบวนการ ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า โครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความเหมาะสมของอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมในการจัดกิจกรรม
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ขั้นตอนด้านกระบวนการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ขั้นวางแผนการดำเนินงาน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การร่วมกันกำหนดกิจกรรมและแนวทางการจัดกิจกรรม
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. ผลการประเมินด้านผลกระทบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้บริหารและครูได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน
7. ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
8. ผลการประเมินด้านความยั่งยืน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การจัดทำห้องศูนย์การเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว
9. ผลการประเมินด้านถ่ายโยงความรู้ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การบูรณาการเนื้อหากับรายวิชาที่เกี่ยวข้อง