การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา
ของโรงเรียนบ้านหนองมะล้อห้วยทรายขาว อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ชื่อผู้รายงาน นางสุดาพร พรมมิ
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองมะล้อห้วยทรายขาว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2
ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การดำเนินงานการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้าน
หนองมะล้อห้วยทรายขาว อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการเสริมสร้าง
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองมะล้อห้วยทรายขาว อำเภอลี้
จังหวัดลำพูน ความสำเร็จของการดำเนินงานการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา
ด้านการบริหารสถานศึกษา และด้านวิชาการ เพื่อศึกษากระบวนการจัดกิจกรรม ตามระบบควบคุมคุณภาพ
PDCA ด้านการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบผลการปฏิบัติ และการปรับปรุงและพัฒนา
ตลอดจนศึกษาความพึงพอใจต่อการดำเนินงานการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหาร
สถานศึกษาของครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการที่
ปรึกษาของโรงเรียน บุคคลภายนอกหรือผู้เกี่ยวข้องของโรงเรียนบ้านหนองมะล้อห้วยทรายขาวที่มีต่อการ
ดำเนินงานการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองมะล้อห้วย
ทรายขาว อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้จำนวน 119 คน ซึ่งประกอบด้วย ครูผู้สอนจำนวน 7 คน นักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 37 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 37 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านหนองมะล้อห้วย
ทรายขาว จำนวน 9 คน คณะกรรมการที่ปรึกษาโรงเรียน จำนวน 9 คน บุคคลภายนอกหรือผู้เกี่ยวข้อง
จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ (Rating Scale) ของ
ลิเคอร์ เพื่อหาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดย
การบรรยายประกอบตาราง
ผลการดำเนินงานการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาพบว่า 1) สภาพ
และปัญหา คือ ด้านการบริหารสถานศึกษายังไม่เป็นระบบ ชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาและ
งบประมาณที่ได้รับมีอย่างจำกัด จึงไม่เอื้อต่อการพัฒนาเท่าที่ควร ขาดการระดมทรัพยากรแบบมีส่วนร่วมจาก
ทุกภาคส่วน ทั้งเรื่องงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา ขาดการเสนอของบประมาณเพื่อพัฒนา
การศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัด ปัญหาด้านวิชาการ ยังขาดวัสดุอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการศึกษา อุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ อุปกรณ์การเรียนการสอนระบบทางไกลสัญญาณขาดหายและชำรุด ครู
ไม่ครบชั้นเรียน ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสื่อการสอนสำหรับครูผู้สอนทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนไม่สอดคล้องกับสภาพนักเรียนหรือความต้องการของนักเรียน ขาดแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ช่วย
ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน
2) ผลสำเร็จจากดำเนินงานการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษาในด้าน
กระบวนการดำเนินงาน ผู้บริหารใช้รูปแบบการบริหารคุณภาพด้วยวงจร Deming (PDCA) พบว่า โรงเรียนได้
ดำเนินการด้านการวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบผลการปฏิบัติ การปรับปรุงและพัฒนา โรงเรียน
ดำเนินการโดยใช้วิธีการเสริมสร้าง ดังนี้ การระดมทุนเพื่อจ้างครู จัดหาวิทยากรท้องถิ่น นำนักเรียนเข้าศึกษา
ในแหล่งศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน มีการระดมทรัพยากร เพื่อสนับสนุนวัสดุในการผลิตสื่อสำหรับครูและวัสดุใน
การจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ครูเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจัดประสบการณ์ตรงให้ผู้เรียนโดยคำนึงถึงความ
แตกต่างระหว่างบุคคลให้ผู้เรียนได้ร่วมทำงานเป็นกลุ่ม มีการปฏิสัมพันธ์และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมี
การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ให้การสนับสนุนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน ได้รับ
ความร่วมมือจากผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรรมการที่ปรึกษาของโรงเรียนและผู้ที่
เกี่ยวข้องในกิจกรรมทุกกิจกรรมตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมาซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการดำเนินการอยู่ในระดับ
มากที่สุด
3)ด้านความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ
บริหารสถานศึกษาพบว่าครูผู้สอน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการที่ปรึกษาของโรงเรียน บุคคลภายนอกหรือผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการดำเนินงานการ
เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารสถานศึกษา ในระดับมากที่สุด