รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ฯ
เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ)
ชื่อผู้วิจัย นายโชติวรรธน์ มุสิกะชะนะ
หน่วยงานที่สังกัด สำนักการศึกษา เทศบาลนครตรัง
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน 2) สร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนา การจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน และ 4) ประเมินผลปรับปรุง รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมัชฌิมภูมิ) จำนวน 165 คน ได้แก่ ครู จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 152 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน 2) แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนา การจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน 3) แบบประเมินการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน 4) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และ 5) แบบประเมินทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์และนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน พบว่า การบริหารจัดการควรมีการพัฒนาทั้งคน วิธีการ เครื่องมือ เทคโนโลยี ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อให้งานต่าง ๆ สามารถขับเคลื่อนได้สำเร็จและรวดเร็ว อีกทั้ง ควรใช้แนวทางชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อรวมตัว รวมใจ รวมพลัง ร่วมมือกันของครู ผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ไปที่ผู้เรียน ให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการทำงานอย่างมืออาชีพ เรียนรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งการและกัน ตลอดจนร่วมดำเนินการ การวางแผนอย่างเป็นระบบ ตั้งเป้าหมายหรือมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ร่วมกันดำเนินงาน ร่วมสะท้อนผลการทำงาน ร่วมพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นวัฒนธรรมหรือชุมชนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
2. การสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน ผลจากการสังเคราะห์ได้รูปแบบ “A4S Model” ประกอบด้วย Analysis for Goal: A เป็นการวิเคราะห์เป้าหมายการวางแผนการดำเนินงาน ในสถานศึกษา Search for Design: S1 เป็นการค้นหา/การออกแบบวิธีการบริหารจัดการในสถานศึกษา Supervision for Refection: S2 การกำกับดูแล สะท้อนผลการดำเนินงาน โดยการนิเทศ ติดตาม โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) Share for Evaluation: S3 เป็นการแบ่งปัน การประเมินผลเพื่อปรับปรุง แก้ไขจุดด้อย ส่งเสริมจุดเด่นอย่างสม่ำเสมอ และ Show for Development: S4 เป็นนำเสนอเพื่อการพัฒนา แก้ไขงานด้านต่าง ๆ การพัฒนางานสู่การประยุกต์ใช้และการพัฒนาสู่การนำไปใช้
3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน พบว่า ครูทุกคนมีวิธีการจัด การเรียนรู้ที่เป็นวิธีเฉพาะของตนเองเหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชา และครูความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินผลปรับปรุงรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน พบว่า โรงเรียนมีการบริหารเชิงกลยุทธ์ผ่านกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาการจัด การเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ครูมีทักษะกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) อยู่ในระดับมากที่สุด และส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงกว่าที่สถานศึกษากำหนด