การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7Ls
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7Ls โดยใช้แผนการจัดการ
เรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นางชาคริยา ผูกพันธ์
ตำแหน่ง ครู โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว เทศบาลนครอุบลราชธานี
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7Ls โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7Ls โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7Ls โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7Ls โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารและ การย่อยอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7Ls โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว เทศบาลนครอุบลราชธานี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7Ls 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินคุณลักษณะการคิดวิเคราะห์และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ พบว่าควรมีการจัดการเรียนรู้ ให้เร้าความสนใจในการเรียน เน้นการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติด้วยตนเอง เรียนรู้ทักษะตามลำดับขั้นตอน พัฒนาแนวการสอนวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผู้เรียนมีความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ในด้านต่างๆ ดังนี้ คือ ความต้องการด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด,ความต้องการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด, ความต้องการสื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการ ด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7Ls เพื่อเสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 แผนการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ 85.81/82.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. ประสิทธิภาพของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7Ls โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7Ls โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด