LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model_ครูมานิตา

usericon

ชื่อเรื่องวิจัย     : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย     : นางมานิตตา ปิ่นกาญจนไพบูลย์
ปี พ.ศ.        : 2564

บทคัดย่อ

     การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อตรวจสอบการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้คือ หาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรม อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 5) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของครูและผู้บริหารที่มีต่อสภาพการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการสร้างนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนจำนวน 10 แผน 20 ชั่วโมง แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างอย่างสร้างสรรค์ 3 ด้าน จำนวน 13 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน จำนวน 20 ข้อ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 รวมเวลา 20 ชั่วโมง และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test for dependent samples) ผลการวิจัยพบว่า
     1. รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและแนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล 6) การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 กระตุ้น (M : Motivate) ขั้นที่ 2 ค้นคว้า (A : Ascertain) ขั้นที่ 3 สังเกต (N : Notice) ขั้นที่ 4 พัฒนาแนวคิด (I : Idea) ขั้นที่ 5 ต่อยอดการคิด (T : Thinking) ขั้นที่ 6 ฝึกฝน (T : Train) ขั้นที่ 7 ยอมรับ (A : Acceptance)
2. รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จากกลุ่มตัวอย่าง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.07/82.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80
3. ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียน มีพัฒนาการขึ้นในช่วงเวลาระหว่างเรียนจากระดับพอใช้เป็นระดับดีเยี่ยม โดยที่ระยะที่ 1 อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 64.79 ระยะที่ 2 อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 76.74 และระยะที่ 3-5 อยู่ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 83.51, 85.71 และ 88.29 ตามลำดับ
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (¯("X" ) = 4.51, S.D. = 0.53)
6. ผลการขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนเป็นรายกลุ่ม ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีพัฒนาการขึ้นในช่วงเวลาระหว่างเรียนจากระดับพอใช้เป็นระดับดีเยี่ยม และหลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MANITTA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^