การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model
ผู้วิจัย พรชัย หวัดคล้าย
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัด การเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๕ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ห้อง 3/1 จำนวนนักเรียน 50 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบ เป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกห้องเป็นนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จัดชั้นเรียนโดยคละนักเรียนที่มีความสามารถทั้งเก่ง ปานกลางและอ่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านจับใจความ แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพราะนักเรียนได้เล่นปนเรียน ที่สนุกสนานท้าทายมีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา บรรยากาศในการเรียนสนุกสนาน ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาด้วยตัวเองและผู้สอนเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอนมีหลากหลาย ไม่น่าเบื่อ รูปภาพสื่อความหมายชัดเจน และมีสีสันสดใสเพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองเป็นการท้าทายความสามารถของนักเรียน
2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นที่ 1 สรรค์สร้างแรงจูงใจ ขั้นที่ 2 ขานไขประสบการณ์ล้ำค่า ขั้นที่ 3 พิจารณาค้นคว้าองค์ความรู้ ขั้นที่ 4 ควบคู่เผยแพร่ผลงาน ขั้นที่ 5 เชี่ยวชาญด้วยการตรวจสอบ ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ 68.64/62.22 ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ 74.10/77.41 และจากการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 84.90/82.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 เท่ากับ 83.25/82.47 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ CACAS Model เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความและการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก