ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based lear
ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา นางสุภาภรณ์ หมั่นถนอม
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอัตราส่วน xxxส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(Problem based learning หรือ PBL) (2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอัตราส่วน xxxส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด หลังเรียนโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem based Learningหรือ PBL) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem based Learning หรือ PBL ) เรื่องอัตราส่วน xxxส่วนและร้อยละ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem based Learning หรือ PBL ) เรื่องอัตราส่วน xxxส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 105 โรงเรียนสาธิตเทศบาล วัดเพชรจริก สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem based Learning หรือ PBL) เรื่องอัตราส่วน xxxส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 14 แผน รวม 20 คาบ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.47 – 0.90 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.23 - 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 (3)แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p)ระหว่าง 0.47 - 0.67 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.23 - 0.37 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 (4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem based Learning หรือ PBL) และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test) แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem based learning หรือ PBL) เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ย 24.45 คิดเป็นร้อยละ 81.49 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 94.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ จำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน( Problem based Learning หรือ PBL) เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem based Learning หรือ PBL) เรื่อง อัตราส่วน xxxส่วนและร้อยละ วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51, S.D. = 0.58)