รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้จากเพลงควบคู่ขั้น
ชื่อผู้นำเสนอ นางสาวสรวีย์ ทองจันทร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การศึกษาปฐมวัย
ปีการศึกษา 2563
รายงานผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้จากเพลงควบคู่ขั้นตอนการฝึก 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนกองทัพอุทิศบ้านดอนยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์ในการทดลอง ดังนี้ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จากเพลงควบคู่ขั้นตอนการฝึก 5ขั้น ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้จากเพลงควบคู่ขั้นตอนการฝึก 5 ขั้น และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้จากเพลงควบคู่ขั้นตอนการฝึก 5 ขั้น ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนกองทัพอุทิศบ้านดอนยาง จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้จากเพลงควบคู่ขั้นตอนการฝึก 5 ขั้นเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 25 แผน (2) คู่มือการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้จากเพลงควบคู่ขั้นตอนการฝึก 5 ขั้น เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนกองทัพอุทิศบ้านดอนยาง จำนวน 25 กิจกรรม (3) แบบประเมินวัดทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของนักเรียนชั้นนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนกองทัพอุทิศบ้านดอนยาง จำนวน 45 ข้อ และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้จากเพลงควบคู่ขั้นตอนการฝึก 5 ขั้นเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด จำนวน 5 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
สรุปผลการทดลอง
1. แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้จากเพลงควบคู่ขั้นตอนการฝึก 5 ขั้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หรือ 90.67/92.83
2. ผลการพัฒนาความสามารถทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูด หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้จากเพลงควบคู่ขั้นตอนการฝึก 5 ขั้นสูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์การเรียนรู้
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้จากเพลงควบคู่ขั้นตอนการฝึก 5 ขั้นอยู่ในระดับมากทุกรายการประเมิ