LASTEST NEWS

04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567ด่วน!!! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสอบตำรวจ 1,530 อัตรา รับสมัคร 12-20 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567

รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

usericon

ชื่อเรื่อง        รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
            เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม
            สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย            เชษฐชาย วรรณประพันธ์
ปีที่วิจัย     2564
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคมภายใต้การดำเนินการ 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษารูปแบบและแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) รวมถึงการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน
ลำพระเพลิงพิทยาคม ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัด
การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และระยะที่ 4 เป็นการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา
ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. สภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก ด้าน
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก และด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ส่วนแนวทาง
การบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) พบว่า
1) ควรมีการส่งเสริมการมีอิสระทางความคิดและการปฏิบัติของผู้เรียนโดยเสริมสร้างกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ 2) ควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 3) ควรสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนกล้าแสดงความรู้ความสามารถตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน 4) การบริหารจัดการให้ครอบคลุมการสร้างความตระหนักในการพัฒนาวิชาชีพและทักษะต่าง ๆ ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 5) สร้างวัฒนธรรมองค์กร โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคน กระตุ้นการเรียนรู้ร่วมกันและควรมีเครือข่ายสถานศึกษาในการร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา 6) ควรมีการติดตาม นิเทศและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสะท้อนผลการดำเนินการตามเป้าหมาย
    2. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่พัฒนาขึ้นด้วยหลักการบริหาร STEM Model ที่ประกอบด้วย
4 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy: S) 2) มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม (Team Work : T)
3) เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Exchange : E) และ 4) การบริหารจัดการยุคใหม่ (Modern Management : M) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยกระบวนการ 5 ขั้นตอน 1) การสร้างความตระหนัก (Awareness) 2) การพัฒนาสมรรถนะครู (Teacher Development) 3) การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ (Learning Development) 4) การนิเทศ (Supervision) 5) การประเมินผล (Assessment : A )
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนลำพระเพลิงพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา พบว่า
        3.1 สมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ของครูหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาด้วยรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        3.2 พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังการพัฒนาด้วยรูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้หลังเรียน อยู่ในระดับมากขึ้น
        3.3 ความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาหลังการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยภาพรวมมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมากที่สุด
    4. ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
    5. ประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า ด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และด้านการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^