ประเมินโครงการส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการ 2563
ของโรงเรียนมาบตะโกพิทยาคม ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นัทภา วรรณประพันธ์
ปีที่รายงาน 2564
บทคัดย่อ
รายงานฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินบริบทโครงการส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต ของโรงเรียนมาบตะโกพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 (2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นโครงการส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต ของโรงเรียนมาบตะโกพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 (3) เพื่อประเมินกระบวนการโครงการส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต ของโรงเรียนมาบตะโกพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 (4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต ของโรงเรียนมาบตะโกพิทยาคม ปีการศึกษา 2563 กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ได้แก่ ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนมาบตะโกพิทยาคม ตำบลมาบตะโกเอน อําเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จํานวน 590 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต ของโรงเรียนมาบตะโกพิทยาคม ปีการศึกษา 2563
ผลการศึกษา ปรากฏผลดังนี้
1. ด้านบริบท ผลการประเมินโดยรวม อยู่ในระดับดีมากที่สุด ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นว่า โครงการแข่งขันความเป็นเลิศทางวิชาการเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและเป็นไปได้ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ โครงการกำหนดวัตถุประสงค์เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และโรงเรียนแจ้งระเบียบ แนวปฏิบัติ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องและความสำคัญที่ต้องปฏิบัติของการปฏิบัติในที่ประชุมประจำเดือน
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ผลการประเมินโดยรวม อยู่ในระดับดีมากที่สุด ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นว่า บุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ความสามารถและให้ความร่วมมือในการดำเนินงานตามโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความสามารถถ่ายทอดความรู้ แนะนำ และแก้ปัญหาการดำเนินงานให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารมีความรู้และให้การสนับสนุน ร่วมวางแผนการดำเนินงาน และมีการประชุมบุคลากรในโรงเรียนเพื่อชี้แจง วางแผนและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบงานอย่างชัดเจน
3. ด้านกระบวนการ ผลการประเมินโดยรวมทุกกิจกรรม อยู่ในระดับดีมากที่สุด ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นว่า
3.1 กิจกรรมที่ 1 การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด มีการประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมฯและคณะครูทุกกลุ่มสาระ กำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อม แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test : O-NET ) นักเรียนทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-Net) และมีการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของเอกสารเตรียมความพร้อมฯ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
3.2 กิจกรรมที่ 2 การสอบธรรมสนามหลวง โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก มีการแจ้งแนวทางการเตรียมความพร้อมฯ ซักซ้อมความเข้าใจและการเตรียมตัวของนักเรียนเพื่อเข้ารับการเตรียมความพร้อมฯให้แก่นักเรียน แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมการสอบธรรมสนามหลวง ประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมฯและคณะครูทุกกลุ่มสาระ กำหนดแนวทางการเตรียมความพร้อม เตรียมความพร้อมด้านสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องเสียง และสื่อมัลติมีเดีย และเตรียมข้อมูลและจัดทำเอกสารประกอบการเตรียมความพร้อมฯ
3.3 กิจกรรมที่ 3 การแข่งขันกีฬานักเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีการประชุมคณะกรรมการฝึกซ้อมและนำนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน นักเรียนทำการฝึกซ้อมกีฬา นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน แต่งตั้งคณะกรรมการฝึกซ้อมและนำนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน และแจ้งแนวทางการคัดตัว การฝึกซ้อมและการเตรียมตัวของนักเรียนเพื่อเป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา
3.4 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมทางกายเพื่อเด็กไทย สูง สมส่วน แข็งแรง IQ EQ ดี (โครงการสานต่อ ChOPA&ChIPA Game สู่การพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหวในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น) โดยรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานองค์กรที่มีวิธีปฏิบัติ เป็นเลิศ(Best Practice) ด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อเด็กไทย สูง สมส่วน แข็งแรง IQ EQ ดี (โครงการสานต่อ ChOPA&ChIPA Game สู่การพัฒนาความฉลาดทางการเคลื่อนไหวในเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น) ครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และนักเรียนร่วมดำเนินการออกกำลังกายและบันทึก ตัดต่อวิดีโอ ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานฯ และแจ้งวัตถุประสงค์ ประโยชน์และแนวทางการออกกำลังกาย ChOPA & ChIPA Fun For Fit @ Home และสนับสนุน เสริมแรงให้นักเรียนร่วมออกกำลังกาย
3.5 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการเข้าร่วมประกวด แข่งขันและแสดงผลงานความสามารถด้านนาฏมวยไทย ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระดับประเทศ โดยรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด คณะกรรมการฯ และคณะครู บุคลากร ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อม ฝึกซ้อม และนักนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันนาฏมวยไทย ประชุมคณะกรรมการฯ และคณะครู บุคลากร มอบหมายหน้าที่ และเตรียมความพร้อมตามขอบข่ายงานที่ได้รับมอบหมาย สรรหานักเรียนตามความสนใจ / เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ / ทำการฝึกซ้อมให้กับนักเรียน และตรวจสอบผลการแข่งขันนาฏมวยไทย ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และระดับประเทศ
4. ด้านผลผลิต ผลการประเมินโดยรวม อยู่ในระดับดีมากที่สุด
4.1 ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันนาฏมวยไทย มีทักษะด้านมวยไทย และนาฏศิลป์ไทย นักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันนาฏมวยไทย มีความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ ในการเข้าร่วมการแข่งขันนาฏมวยไทยรอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ นักเรียนที่เข้าร่วมทำการสอบธรรมสนามหลวง มีความรู้ตามหลักสูตรธรรมศึกษา นักเรียนที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีสมรรถภาพทางกายดี มีทักษะด้านกีฬาที่ทำการแข่งขัน ครูและบุคลากรมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ นักเรียนนำสิ่งที่เรียนรู้และศักยภาพที่ได้รับการพัฒนา ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3,6 มีความรู้ตามมาตรฐาน และตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 , 6 มีความพร้อมในการเข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-Net) สูงขึ้น
4.2 คณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คณะกรรมการสถานศึกษามีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ ครูและบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิตให้แก่นักเรียนได้ นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมการประกวดแข่งขันทักษะวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต นักเรียนได้รับการส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต ครูและบุคลากรให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต ครูและบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิตให้แก่นักเรียนได้
4.3 นักเรียน มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนได้รับการส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมการประกวดแข่งขันทักษะวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ โรงเรียนรายงานผลการประกวด แข่งขัน ให้คณะกรรมการสถานศึกษาฯ ผู้ปกครอง นักเรียน รับทราบ ครูและบุคลากรให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต ครูและบุคลากรดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต ตามที่กำหนดไว้ในโครงการ นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมการประกวดแข่งขันทักษะวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต และนักเรียนนำสิ่งที่เรียนรู้และศักยภาพที่ได้รับการพัฒนา ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
4.4 ผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนมีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ผลการประกวดแข่งขันให้บุคคลทั่วไปทราบ ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมการประกวดแข่งขันทักษะวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต นักเรียนได้รับการส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต ครูและบุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิตให้แก่นักเรียนได้ ครูและบุคลากรดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทักษะความเป็นเลิศทางวิชาการ นันทนาการและทักษะชีวิต ตามที่กำหนดไว้ในโครงการ โรงเรียนเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมตามโครงการให้คณะกรรมการสถานศึกษาฯ ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชนรับทราบ