LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพือ

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน
        เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา        ปีที่ 4
ผู้วิจัย        นายยิ่งวัฒน์ พิสุทธิ์จิระธาดา
สถานศึกษา        โรงเรียนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด        ศรีสะเกษ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
การศึกษา        2563
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ความจำเป็น เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3) เพื่อทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ตามรูปแบบก่อนและหลังเรียน 3.2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ตามรูปแบบก่อนและหลังเรียน และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้การพัฒนารูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4.1) เพื่อศึกษาความพึงใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ตามรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนราศีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random Sampling )โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ได้แก่ 1) แบบประเมินรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ และ 5) แบบประเมินเอกสารประกอบรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้แก่ 5.1) แบบประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน 5.2) แบบประเมินแผนการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน และ 5.3) แบบบันทึกสภาพการจัดการเรียนการรู้ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมการคำนวณสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test และ ค่าประสิทธิภาพ ( E1 / E2 )

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ความจำเป็น เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
1.1 ผลการศึกษาสภาพการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนพบว่า ผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลการเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.00 – 2.50 และนักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง นักเรียนมีปัญหาในเรื่องตีความ การจับใจความสำคัญ และการสรุปความเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านมาแล้ว นักเรียนชอบให้มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในรูปแบบกลุ่มมากกว่าแบบเดี่ยว และสนใจในเนื้อหาที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องเกี่ยวกับสถานที่ เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ เป็นต้น
1.2 ผลการศึกษาด้านครูผู้สอนและสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่าการกำหนดเป้าหมาย/วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เหมาะสม ผู้เรียนกับครูผู้สอนควรเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย/วัตถุประสงค์การเรียนร่วมกัน เป้าหมาย/วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เหมาะสมควรจะให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ และคำตอบด้วยตนเองอย่างมีเหตุผลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นได้ ในการนำเสนอเนื้อหาการเรียนรู้ที่เหมาะสมครูผู้สอนควรแบ่งกลุ่มผู้เรียน และให้ผู้เรียนร่วมกันศึกษา นอกจากนี้ในเรื่องบทบาทของผู้เรียน นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เลือกเรียนเนื้อหาได้ตามความสมัครใจ ทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับคนอื่น และสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ส่วนบทบาทของผู้สอน ควรเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือให้คำอธิบายเพิ่มเติมในสิ่งที่ผู้เรียนยังขาด ให้อิสระทางความคิดแก่ผู้เรียน แนะนำวิธีการค้นคว้า แหล่งการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ตลอดจนเป็นผู้พัฒนากำลังใจให้ผู้เรียนเห็นถึงศักยภาพและความสามารถของตนเอง ความเห็นในเรื่องสื่อในการจัดการเรียนการสอน เห็นว่าควรใช้ใบงาน ใบความรู้ประกอบในการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน นอกจากนี้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษควรมีลักษณะเรียนร่วมกันโดยการแบ่งกลุ่มและควรมีสมาชิกในกลุ่มประมาณ 5 – 7 คน ในการระดมสมอง
1.3 ด้านผู้บริหารและสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า การจัดการเรียนการสอนเป็นไปในลักษณะที่ครูผู้สอนเป็นผู้กำหนดเป้าหมาย กิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเนื้อหาในการเรียนการสอน และครูผู้สอนเน้นการบรรยายโดยที่ผู้เรียนไม่ได้มีส่วนร่วมคิดในกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้ผลการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนยังไม่ดีเท่าที่ควร อยากให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ทั้งครูผู้สอนและนักเรียนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำในทุก ๆ ขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อที่ผู้เรียนจะได้มีความกระตือรือร้นที่จะร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น จากข้อมูลที่ได้จาการวิเคราะห์ สังเคราะห์ทั้งจากแหล่งข้อมูลบุคคลและแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร ผู้วิจัยมาเป็นแนวคิดพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานและเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของผู้เรียน
2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2.1 รูปแบบการจัดการเรียนจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มีองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการหรือทฤษฎีที่เป็นพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้
4) การประเมินผลการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
        ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ (Preparation)
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน (Teaching)
ขั้นที่ 3 ขั้นตรวจสอบ (Testing)
ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปและประเมินผล (Conclusion)
2.2 คู่มือการใช้รูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เป็นเอกสารที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นเพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อให้ผู้ที่จะนำรูปแบบไปใช้เข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้จริง โดยที่ภายในคู่มือการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานได้บอกรายละเอียดสิ่งที่ผู้สอนควรปฏิบัติก่อนการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน ซึ่งเป็นการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นในการเรียนจัดการเรียนรู้ การจัดเตรียมเครื่องมือสำหรับการวัดและประเมินผล และแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบเป็นไปอย่างราบรื่น สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ไม่ได้กล่าวไว้ภายในรูปแบบการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนำรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานไปใช้
2.3 แผนการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เป็นเอกสารที่เสนอแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอนของรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมดจำนวน 7 แผน แต่ละแผนใช้เวลาในการสอน 2 ชั่วโมง แต่ละแผนการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานประกอบด้วย ชื่อแผนจัดการเรียนรู้ สาระสำคัญ ผลการเรียนรู้/จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล นอกจากนี้ในแต่ละแผนจะมีเอกสารประกอบแผนการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานซึ่งประกอบด้วย ใบความรู้ ใบงาน ข้อความรู้สำหรับผู้เรียน แบบสังเกตข้อผิดพลาดในการใช้ภาษา แบบฝึกกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนในแต่ละขั้นตอนของรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน แบบประเมินตนเองและแบบบันทึกสภาพการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้สอนใช้บันทึกบรรยากาศในการเรียนการสอน ปัญหาที่พบ วิธีการแก้ไข และข้อเสนอแนะในการสอนครั้งต่อไป
ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก คู่มือการใช้รูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน และแผนการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน มีคุณภาพอยู่ในระดับดี
ผลการทดลองนำร่องเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ พบปัญหาในช่วงแรก ๆ ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แต่เมื่อผู้วิจัยได้นำสิ่งที่สังเกตพบมาปรับปรุงแก้ไขก็สามารถทำให้การจัดกิจกรรมตามกระบวนการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานที่พัฒนาขึ้นมีระบบขั้นตอน สามารถดำเนินการสอนได้อย่างต่อเนื่อง
3. ผลการทดลองและผลการใช้รูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
1) ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ของการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานตามรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 84.94/86.86 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ได้รับการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานตามรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน โดยประเมินจากความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานตามรูปแบบการสอนผสมผสานแบบร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับ มาก (x ̅ = 3.94)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^