การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning
ผู้วิจัย นางสาวประภาพร ชุมพล
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนพิบูลมังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่จัดทำ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้ (3.1) พัฒนาการด้านทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน (3.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (3.3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบประเมินความต้องการพื้นฐานเพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (2) แบบประเมินความสามารถด้านทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ (4) คู่มือการใช้รูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมติฐานประกอบด้วย ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที แบบ dependent Sample และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (PLSAE Model) มีองค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นเตรียมความพร้อมด้านความรู้และทักษะที่จำเป็น (Preparation : P) (2) ขั้นเรียนรู้และเชื่อมโยง (learning and Elaboration : L) (3) ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะ (Sharing : S) (4) ขั้นประยุกต์ใช้ (Apply : A) (5) ขั้นการประเมินผล (Evaluation : E) 4) การวัดและประเมินผล 5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (PLSAE Model) พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.39/81.53 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (PLSAE Model) พบว่า (3.1) หลังการเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (PLSAE Model) นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีพัฒนาการสูงขึ้นโดยระยะก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 34.57 ระยะระหว่างเรียนคิดเป็นร้อยละ 81.39 และระยะหลังเรียนพัฒนาสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 81.53 (3.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3.3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning โดยใช้บทเรียนออนไลน์ที่ร่วมกับแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะและความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.76, S.D. = 0.58)