LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษาค้นคว้า     นางสาวสุวณีย์ เจริญฤทธิ์
ปีการศึกษา     2563

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และ 3) ขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/7 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สังกัดเทศบาลนครภูเก็ต จำนวน 34 คนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน คู่มือการใช้รูปแบบการสอน หน่วยการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถด้านการคิดและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t - test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีชื่อว่า “CLTE” มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ 4 ด้านที่ต้องคำนึงถึงประกอบด้วย 1.ชุมชน (Community) 2. การจัดการเรียนรู้ (Learning) 3.เทคโนโลยี (Technology) และ4.การประเมินผล (Evaluation) รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการเป็นการเรียนรู้บนฐานของชุมชนโดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 4 ด้านของ “CLTE” โดยจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอน PSRAA ซึ่งผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติจริงและแก้ปัญหาที่พบในชุมชนด้วยการเรียนรู้ที่หลากหลายและได้ชิ้นงานที่สร้างสรรค์ 2) วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ PSRAA ประกอบด้วย (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparing : P ) (2) ขั้นกลยุทธ์การเรียนรู้ (Strategies : S) (3) ขั้นสู่ผลสะท้อนคิด (Reflection : R) และ (4) ขั้นประเมินประสิทธิผล (Assessing : A ) (5) ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ (Applying : A ) 4) การวัดและประเมินผลประเมินภาพรวมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน จากการสะท้อนคิดของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายและ 5) เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จได้แก่ (1) ชุมชนให้การส่งเสริมสนับสนุนและมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน (2) ผู้เรียนศึกษาข้อมูลพื้นฐานในชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลด้วยตนเองฝึกการคิดและการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงที่พบในชุมชนและ (3) การยึดหยุ่นเวลาในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมนอกห้องเรียนพบว่าการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.85/81.67
    2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน พบว่า 2.1) หลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือการค้นคว้าการแสวงหาคำตอบค้นหาความจริง ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือความสามารถในการสรุปผลจากข้อมูลและหลักฐานต่างๆที่ปรากฏ 2.2) หลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นักเรียนมีความสามารถด้านการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านที่มีคะแนนสูงที่สุดคือการค้นพบแนวคิด และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการนำไปปฏิบัติได้จริง
    3. ผลการขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน พบว่าหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^