การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย : นางสาววรินทร์พร ชูกิจไพบูลย์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย : 2561-2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียน การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ด้วยเทคนิค Think pair share 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ด้วยเทคนิค Think pair share เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2013 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ด้วยเทคนิค Think pair share กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ ครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย ปีการศึกษา 2561-2562 เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย ได้แก่ คู่มือการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ด้วยเทคนิค Think pair share ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ด้วยเทคนิค Think pair share แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจได้ผ่านการตรวจสอบหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าความยาก (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (KR – 20) และค่าความเที่ยง () ทั้งฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงเนื้อหา (Content analysis) และสถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และค่าประสิทธิผล (E.I.) ค่า t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ด้วยเทคนิค Think pair share เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2013 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก 2) การจัด การเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ด้วยเทคนิค Think pair share เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2013 กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และมีค่าประสิทธิผล (E.I.) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 0.50 และ 3) ผลการจัด การเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ด้วยเทคนิค Think pair share มีดังนี้ 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) ความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3.3) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู และนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด