รายงานการพัฒนาการใช้คู่มือการนิเทศ
และการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ผู้วิจัย : อภิสิทธิ์ กุลโรจนสิริ
ปีที่วิจัย : 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อพัฒนาคู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2.) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3.) เพื่อศึกษาคุณภาพการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอน ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภายหลังการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนา การจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4.) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทย ของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายตะเครียะ บ้านขาว,ท่าบอน ปากแตระ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 13 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียน ภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 เรื่อง 2) แบบทดสอบก่อนและหลังการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนา การจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินคู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อ การนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทย ของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 ข้อ 5) แผนการนิเทศเพื่อพัฒนา การจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 แผน และ 6) แบบนิเทศการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า
1. คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, = 0.58)
2. การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.85 ร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ ร้อยละ 32.05
3. การจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภายหลังการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53 , = 0.48 )
4. ความพึงพอใจของครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการนิเทศโดยใช้คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้การอ่านและการเขียนภาษาไทยของครูผู้สอนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับามากที่สุด ( = 4.55, = 0.53)