การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
ผู้วิจัย ณัฐธัญยพร ธนิกสิริกษิดิศ
โรงเรียน โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุxxxล) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพบริบท ปัญหาและอุปสรรคการสอนวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เรื่อง ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ แบบประเมินรูปแบบฯ แบบประเมินแบบการจัดการเรียนรู้ฯ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ยังขาดการส่งเสริมให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยการสอนยังเน้นความจำมากกว่าการคิดขั้นสูง ขาดการฝึกฝน การคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ต้องมีการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่ารูปแบบมีชื่อว่า SCSEDS Model ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า จากการประเมินความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้รูปแบบฯ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 36.69, p = .00)
4.การประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า อันดับแรก ได้แก่ เป็นกิจกรรมมุ่งเน้นฝึกฝนการเรียนแบบกระบวนการกลุ่ม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การวิพากษ์และการประเมินผลงานของผู้อื่นได้ รองลงมา รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน นักเรียนสามารถนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และกิจกรรมภาคปฏิบัติ นักเรียนเป็นผู้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เรียนรู้โดยเน้นจากประสบการณ์ มีโอกาสแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ฝึกการแก้ปัญหาได้ดี ตามลำดับ