การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับชุดกิจกรรม
ผู้วิจัย ณัฐธัญยพร ธนิกสิริกษิดิศ
โรงเรียน โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุxxxล) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา
ปีที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุxxxล) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน จำนวน 7 แผน 24 ชั่วโมง ชุดกิจกรรม เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1.การจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.88/81.51ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเผชิญสถานการณ์ร่วมกับชุดกิจกรรม เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สามอันดับแรก คือ ด้านการวัดผลประเมินผล ด้านสาระการเรียนรู้และด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ