รายงานผลการประเมินโครงการบริหารจัดการอาหารกลางวันโรงเรียนตามรูปแ
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2562 - 2564
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการและระบบการบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผน ความชัดเจนของขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและการกำกับติดตามโครงการ และ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการอาหารกลางวันโรงเรียนตามรูปแบบ 3F for 2H ตลอดจนความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ
ประชากรที่ศึกษา ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครู จำนวน 22 คน นักเรียน จำนวน 189 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 189 คน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครู จำนวน 22 คน โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 67 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบสอบถามความคิดเห็น 2) แบบบันทึกพัฒนาการของเด็กนักเรียน 3) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการศึกษาดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทของโครงการ พบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถานศึกษา ตามตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x=4.66,S.D.=0.15) และตามตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x=4.40,S.D.=0.52)
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ พบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ตามตัวชี้วัดความพร้อมด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องการดำเนินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x=4.78,S.D.=0.40) ตามตัวชี้วัดความพร้อมด้านทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x=4.94,S.D.=0.18) และตามตัวชี้วัดระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x=4.91,S.D.=0.25)
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารและครู ตามตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x=4.79,S.D.=0.40) ตามตัวชี้วัดความชัดเจนของขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x=4.78,S.D.=0.41) และตามตัวชี้วัดการกำกับติดตามโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x=4.84,S.D.=0.33)
4. ผลการประเมินพัฒนาการด้านน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงและส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของนักเรียนโรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ที่ได้รับประทานอาหารกลางวันโรงเรียน พบว่า นักเรียนมีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง มีรูปร่างสมส่วน ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 85.71 และนักเรียนมีส่วนสูงตามเกณฑ์ ค่อนข้างสูงและสูง ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินคิดเป็นร้อยละ 94.71
5. ผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่า นักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 89.55
6. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารและครู พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x=4.95,S.D.=0.13) ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x=4.92,S.D.=0.18) และความพึงพอใจของผู้บริหารและครูที่มีต่อการดำเนินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x=4.96,S.D.=0.16)