การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผสมผสาน
ชื่อผู้วิจัย นางลภัสรดา ทับสีรัก ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผสมผสานการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชา ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผสมผสานการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผสมผสานการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชา ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผสมผสานการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเสือโก้กวิทยาสรรค์อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผสมผสานการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผสมผสานการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อว่า BESAE Model จากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 8 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ หลักการตอบสนอง ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน สาระความรู้ และสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Brought into the lesson: B) 2) ขั้นสำรวจและลงมือปฏิบัติ (Explore and take action: E) 3) ขั้นสรุป (Summarize: S) 4) ขั้นนำความคิดไปประยุกต์ใช้ (Apply to idea: A) 5) ขั้นประเมิน (Estimate: E) และค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 83.88/81.22 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผสมผสานการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ผสมผสานการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชา ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ผสมผสานการสอนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด