LASTEST NEWS

04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567ด่วน!!! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสอบตำรวจ 1,530 อัตรา รับสมัคร 12-20 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

usericon

หัวข้อการวิจัย        รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
โรงเรียนเทศบาลวัดไผ่ล้อม จังหวัดอุตรดิตถ์
ปีการศึกษา        2563
ชื่อผู้วิจัย        นายธีระวัฒน์ อ้นทองทิม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวัดไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดไผ่ล้อม จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดไผ่ล้อม จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) เพื่อประเมินคุณภาพรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยดำเนินการวิจัย ใน 4 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 171 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งประกอบด้วย นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคีเครือข่าย และผู้บริหารระดับนโยบาย พบว่า 1) ระดับการดำเนินงานยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (1) ด้านนโยบาย มีการปฏิบัติอยู่ในระดับ ปานกลาง (μ = 2.91, σ = 0.85) และโรงเรียนเทศบาลวัดไผ่ล้อมและหน่วยงานต้นสังกัด มีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างชัดเจน (2) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.03, σ = 0.55) และสถานศึกษามีการส่งเสริมและสนับสนุน ครูและบุคลากรให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนทางวิชาชีพ (PLC) เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (μ = 4.42, σ = 0.64) และผู้บริหารสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) ด้านผลผลิต มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.11, σ = 0.71) และผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และ (5) ด้านภาคีเครือข่าย มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.37, σ = 0.72) และภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษามีบทบาทในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างน้อย 2) ผลการศึกษาปัญหาการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้ข้อมูลดังนี้ (1) ด้านนโยบาย ขาดกลไกประสานและเชื่อมโยงให้การทำงานสอดคล้องรับกัน และยังขาดความชัดเจนในแนวทาง การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) ด้านปัจจัยการดำเนินงาน ครูขาดรับการอบรม ทบทวน เพิ่มศักยภาพในการให้ความรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และภาระงานสอนของครูมีมาก และสื่อต่าง ๆ ยังไม่เหมาะสมที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ครูขาดเทคนิค รูปแบบการสอนที่หลากหลาย เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ (4) ด้านผลผลิต ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (5) ด้านการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา และภาคีเครือข่าย 3) แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหาร เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ (1) ผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา (2) กระบวนการของการบริหารแบบมีส่วนร่วม (3) แนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (4) เป้าหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดำเนินการออกแบบและพัฒนารูปแบบการการบริหารแบบมีส่วนร่วม ตรวจสอบความถูกต้องครอบคลุมของรูปแบบการบริหาร โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติมีประสบการณ์เกี่ยวกับบริหารสถานศึกษา ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามและเทคนิคเดลฟาย พบว่า 1) รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มี 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารงานสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ตัวแทนคณะครู ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวแทนคณะกรรมการสภานักเรียน และผู้สนับสนุนการบริหารงานสถานศึกษา ได้แก่ ตัวแทนเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ตัวแทนเครือข่ายชุมชน ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนองค์กรหน่วยงานบริการสาธารณสุข ตัวแทนองค์กรสถาบันศาสนา ตัวแทนองค์กรสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น ตัวแทนองค์กรสถานประกอบการในท้องถิ่น ตัวแทนองค์กรหน่วยงานตำรวจ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการของการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) (2) การมีส่วนร่วมในการวางแผน (Plan) (3) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making) (4) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (Implementation) และ (5) การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล (Evaluation) องค์ประกอบที่ 3 แนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดำเนินการใน 8 แนวทาง ดังนี้ (1) การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร (2) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (3) การพัฒนาการผลิต สื่อการเรียน การสอน และเทคโนโลยีทางการศึกษา (4) การพัฒนาระบบนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (5) การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน (6) การพัฒนาทักษะกระบวนการคิด ผ่านการลงมือปฏิบัติ (7) ผลการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นพลเมืองและพลโลก ทักษะชีวิต และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ และ (8) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพการศึกษา องค์ประกอบที่ 4 เป้าหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านนักเรียน คือ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการเป็นไปตามเป้าหมาย (2) ด้านครูและบุคลากร คือ ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาตามศักยภาพ (3) ด้านบริหารจัดการสถานศึกษา คือ สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการและพัฒนาโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน 2) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน (IQR  1.50) ว่าองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่กำหนด สมควรใช้เป็นองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Mdn  3.50) และมีความถูกต้องครอบคลุมมากที่สุด (Mdn  4.50) ทุกองค์ประกอบ
ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน จากนั้นสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม และวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย ปัญหาและอุปสรรค ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยการสอบถามและการสนทนากลุ่ม นักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคีเครือข่าย และผู้บริหารระดับนโยบาย จำนวน 162 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง พบว่า 1) ระดับการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.56, σ = 0.64) 2) และระดับความพึงพอใจในการบรรลุเป้าหมายของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.66, σ = 0.59) 2) ผลคะแนนการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาและอุปสรรค ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม (1) จุดเด่น คือ เป็นรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่มาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ (2) จุดด้อย คือ แนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่กำหนดต้องใช้เวลาในการดำเนินการนาน และต่อเนื่อง มากกว่า 1 ปีการศึกษา (3) ปัญหาและอุปสรรค คือ ผู้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสถานศึกษา แต่ละคนเป็นผู้แทนองค์กร/หน่วยงานที่หลากหลาย จึงทำให้นัดหมายกำหนดการในการปฏิบัติงานค่อนข้างลำบาก

ระยะที่ 4 การประเมินคุณภาพรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารระดับนโยบาย จำนวน 162 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ที่มีต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ พบว่า รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีคุณภาพในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^