ภาษาไทย
ประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวมัสกะห์ เจ๊ะมะ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านบลูกา อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อประเมิน
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบลูกา
อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 4 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ (E1/E2)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.98/83.33 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น สูงกว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน ร้อยละ 21.95 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวม เท่ากับ 4.50
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .62 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ โดยภาพรวม นักเรียนมี ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก