การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ทฤษฎีการอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วม
แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
และการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย : นายสืบสินธ์ แสงอรุณ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนประทาย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา : 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ทฤษฎีการอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ทฤษฎีการอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ทฤษฎีการอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ทฤษฎีการอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ทฤษฎีการอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/10 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนประทาย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ทฤษฎีการอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ทฤษฎีการอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test) (Dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่าการจัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนตามเนื้อหาวิชา เน้นความรู้ความจำ นักเรียนไม่เห็นคุณค่าของการอ่าน ไม่ชอบอ่านหนังสือ โดยเฉพาะเนื้อเรื่องที่มีความยาวมากเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย และส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน ไม่สามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณได้ จึงทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยต่ำลง และขาดทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ความต้องการจะต้องพัฒนาวิธีการอ่านโดยการฝึกฝนจนเกิดทักษะสร้างนิสัยให้รักการอ่านและเป็นนักอ่านที่ดีให้แก่นักเรียน ช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความคิดและประสบการณ์จากการอ่านนำไปสู่การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
2. รูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ทฤษฎีการอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สาระหลัก ระบบสังคม สิ่งสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และการนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ปัญหาชวนสงสัย (questionable problem) 2. สร้างกลุ่มเรียนรู้ (Create learning group ) 3. อ่านและสร้างความเข้าใจ (Read and understand) 4. ร่วมคิดแก้ปัญหา (Together to solve problems) 5. ตั้งคำถามและอภิปราย (Ask questions and discuss) 6. สรุปประเด็นและประเมิน (Summary and assessment) ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.05/86.92
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ทฤษฎีการอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนอ่านโดยใช้ทฤษฎีการอ่านร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด