การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามแนวคิดการสร้างสรร
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย : นายกัญจนพันธ์ วรพัฒน์ผดุง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย : 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนประทาย การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ แนวคิดทฤษฎีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ การสนทนากลุ่มของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนประทาย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนประทาย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนประทาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ 5) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์จากชิ้นงาน และ 6) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) (Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ เน้นส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ การวางแผน การออกแบบ การสร้างชิ้นงานประดิษฐ์ ทักษะกระบวนการทำงาน การปฏิบัติงานที่ได้มาจากกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ แปลกใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ในชิ้นงานประดิษฐ์ ประยุกต์ใช้ และต่อยอดสู่การสร้างอาชีพได้
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ระบบสังคม และการนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ร่วมกลุ่มคิดจุดประกาย (Join the spark group) ขั้นตอนที่ 2 วางแผน ออกแบบตามจินตนาการใหม่ (Plan and design) ขั้นตอนที่ 3 ปฏิบัติงานสร้างสรรค์ (Create work) ขั้นตอนที่ 4 นำเสนอ สรุป และวิจารณ์ (Presentations and reviews) และขั้นตอนที่ 5 ประเมิน ประยุกต์ใช้ และต่อยอด (Evaluate apply and build on) เมื่อนำไปทดลองใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.81/86.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพ ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด