LASTEST NEWS

29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดสอบบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 73 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่บัดนี้ - 8 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รับสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งเภสัชกรปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1-7 สิงหาคม 2567 28 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 11 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 31 ก.ค.2567

เผยแพร่ผลงาน

usericon

ชื่อเรื่อง    รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้เขียน    นางสาวปิยพร กันทะวงศ์
ปีการศึกษา    2564

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างความสามารถทางการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไปใช้ การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างความสามารถทางการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครลำปาง จำนวน 6 โรงเรียน รวม 165 คน และครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครลำปาง จำนวน 6 โรงเรียน รวม 26 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถทางการคิดสร้างสรรค์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 คน โดยใช้แบบแผนการทดลองวัดก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ ชุดการสร้างและประดิษฐ์หุ่นยนต์บังคับมือและคู่มือครูผู้สอน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดความสามารถทางการคิดสร้างสรรค์ แบบวัดพฤติกรรมสร้างสรรค์และแบบวัดผลงานสร้างสรรค์ และระยะที่ 3 ศึกษาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไปใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครลำปาง จำนวน 6 โรงเรียน รวม 26 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหุ่นยนต์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ไปใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified อัตราพัฒนาการมากกว่าสองครั้ง (Growth rate) ทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างความสามารถทางการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาพรวม โดยมีค่า PNImodified อยู่ในช่วง .12 - 1.09 เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ มิติด้านผลงานสร้างสรรค์ มิติด้านการคิดสร้างสรรค์ และมิติ ด้านจิตใจและบุคลิกภาพ ทุกประเด็นย่อยมีค่าดัชนี PNImodified มากกว่า 0.970 ขึ้นไป โดยประเด็นที่มีความต้องการจำเป็นในระดับที่ต้องพัฒนาเรียงลำดับจาก มากไปหาน้อย ดังนี้ ความคิดคล่อง และความคิดริเริ่ม (1.11) ความเหมาะสมของผลงานและความประณีตสวยงามของผลงาน (1.09) ความแปลกใหม่ของผลงาน (1.08) ความคิดละเอียดลออ (1.04) ความเชื่อมั่นในตนเอง (1.03) ความอยากรู้อยากเห็น (1.00) และความคิดยืดหยุ่น (0.97) 2) รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบเทคโนโลยี กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยกระบวนการเรียนการสอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นมองปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (C : Creative problem view) ขั้นวางแผนจัดการปัญหา (M : Management problem plan) ขั้นสร้างสรรค์ชิ้นงาน (C : Creative task) และขั้นนำเสนอคู่การประเมิน (P : Presentation and Evaluation) ผลการใช้รูปแบบมีดังนี้ มิติด้านการคิดผู้เรียนมีคะแนนความสามารถทางการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มิติด้านจิตใจและบุคลิกภาพภาพรวมอยู่ในระดับดี (bar{x}= 1.75, SD = .43) และมิติด้านผลงานสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก (bar{x} = 6.05, SD = .39) และ 3) รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการหุ่นยนต์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเหมาะสมใน การนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด (bar{x} = 4.92, SD = .38) และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด (bar{x} = 4.85, SD = .36)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^