LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในก

usericon

นวพรรณ อินต๊ะวงศ์
Nawaphan Intawong
โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล)
Daroonwittaya Tedsaban Muangnan (Bansuantan) School

บทคัดย่อ

    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลสำหรับการพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศฯ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศฯ และ4) ประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการนิเทศฯ โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร ครูและนักเรียน โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน(บ้านสวนตาล) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสนทนากลุ่ม แบบประเมิน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยนำข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสนทนากลุ่มมาพัฒนารูปแบบการนิเทศฯ นำไปทดลองใช้ เก็บข้อมูลและสรุปผลโดยการวิเคราะห์ทางสถิติและวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา
    ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนดรุณวิทยา ฯ มีระดับการปฏิบัติปัจจุบันด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการพัฒนาครู โดยรวมอยู่ในระดับน้อย (µ = 2.27) และมีความต้องการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.58) 2) ได้รูปแบบการนิเทศฯ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการของรูปแบบ (2)วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) ระบบและกลไกของรูปแบบ 5D Model ประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบ การนิเทศเชิงลึก การประเมินผลและรายงาน และการพัฒนา (4) แผนการดำเนินงาน (5) แนวทางการประเมินผล และ (6) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ 3) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศฯ พบว่า (1) ครูที่ได้รับการนิเทศฯ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหลังการใช้รูปแบบการนิเทศฯ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการนิเทศฯ (2) นักเรียนมีทักษะการคิดอยู่ในระดับมาก (µ = 4.14) ทักษะการแก้ปัญหาอยู่ในระดับมาก (µ = 3.70) และทักษะการใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.52) (3) ครูมีคุณลักษณะความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.03) และ 4) ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.54)

คำสำคัญ รูปแบบการนิเทศ, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, ทักษะในศตวรรษที่ 21
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^