รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดโตนดด้วน
ผู้รายงาน ภัทรานิษฐ์ สวยงาม
หน่วยงาน โรงเรียนวัดโตนดด้วน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดโตนดด้วน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม (Content Evaluation) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดโตนดด้วน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็นบุคลากรของโรงเรียนวัดโตนดด้วน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2562 ได้แก่ ครู จำนวน 10 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 72 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 72 คน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมจำนวน 161 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดโตนดด้วน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดโตนดด้วน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x = 4.87, S.D. = 0.05) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านสภาวะแวดล้อม และด้านผลผลิตได้คะแนนรองลงมาตามลำดับ
2. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดโตนดด้วน ด้านสภาวะแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x = 4.86, S.D. = 0.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อ 5 วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ ข้อ 6 วัตถุประสงค์โครงการมีความชัดเจนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และ ข้อ 9 การประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (¯x = 5.00, S.D. = 0.00) และ ข้อ 1 หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (¯x = 4.64, S.D. = 0.48)
3. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดโตนดด้วน ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x = 4.90, S.D. = 0.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอันดับแรก (¯x = 5.00, S.D. = 0.00) ทั้งหมด 7 ข้อ คือ ข้อ 1 ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมตามโครงการ เป็นผู้มีความรู้ความสนใจความสามารถเหมาะสมและเพียงพอ ข้อ 4 ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสมเพียงพอ ข้อ 6 อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินโครงการโรงเรียนจัดหาอย่างเพียงพอ ข้อ 7 ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมการเลี้ยงปลาในกระชัง ข้อ 10 ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมการเลี้ยงหอยขมในกระชัง ข้อ 13 ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมการทำน้ำยาอเนกประสงค์ และ ข้อ 17 ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า ส่วนข้อ 2 จำนวนบุคลากรที่ดำเนินโครงการมีความเหมาะสมพอเพียงสำหรับการดำเนินโครงการ ข้อ 5 งบประมาณที่ใช้สำหรับการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมเพียงพอ และ ข้อ 8 ความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์สำหรับกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (¯x = 4.78, S.D. = 0.42)
4. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดโตนดด้วน ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x = 4.94, S.D. = 0.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอันดับแรก (¯x = 5.00, S.D. = 0.00) ทั้งหมด 3 ข้อ คือ ข้อ 4 รูปแบบการจัดกิจกรรมในโครงการช่วยให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามอัตลักษณ์ของโรงเรียน ข้อ 7 มีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการทุกกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และ ข้อ 8 การกำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการประเมินผลโครงการตามความเหมาะสม ส่วนข้อ 10 การรายงานผลการประเมินกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (¯x = 4.85, S.D. = 0.36)
5. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดโตนดด้วน ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x = 4.76, S.D. = 0.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ข้อ 12 ผลการดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในครอบครัวของตนเองได้ในกิจกรรมการเลี้ยงหอยขมในกระชัง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (¯x = 5.00, S.D. = 0.00) รองลงมาคือ ข้อ 29 ผลการดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนเป็นผู้มีวินัย ใฝ่เรียนรู้และมีจิตสาธารณะในกิจกรรมออมทรัพย์ (¯x = 4.92, S.D. = 0.27) และ ข้อ 14 ผลการดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนเป็นผู้มีวินัย ใฝ่เรียนรู้และมีจิตสาธารณะในกิจกรรมการเลี้ยงชันโรง (¯x = 4.90, S.D. = 0.30 ) ส่วนข้อ 13 ผลการดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการเลี้ยงชันโรง มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (¯x = 4.49, S.D. = 0.50)
6. การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดโตนดด้วน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (¯x = 4.84, S.D. = 0.07) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ข้อ 2 รูปแบบการจัดกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี ข้อ 3 รูปแบบการจัดกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ และ ข้อ 8 รูปแบบการจัดกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ส่วนข้อที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ข้อ 1 รูปแบบการจัดกิจกรรมการเลี้ยงปลาในกระชัง