รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพนักเรียน....
The developing forms of academical potentiality of Niyomsilp Anusorn
school students.
ณัฏฐธนัน รำเจริญ
Natthanan rumjaroen 1
โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์1
Niyomsilanusorn School1
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของ นักเรียน โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ ของนักเรียน โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์
วิธีการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของ นักเรียน โดยการศึกษาวิเคราะหเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบ ความตรงและความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โดยการจัดประชาพิจารณ์ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนครูคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองเครือข่าย และตัวแทนนักเรียน รวมจํานวนผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ 50 คน 2) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน ดําเนินการทดลองใช้รูปแบบ การพัฒนาศักยภาพทางวิชาการในโรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูณ์ 3) ประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพ ทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์เพชรบูรณ์ รวมจํานวนทั้งสิ้น 1,736 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ พบว่า มีความตรงและความเหมาะสมมาก โดยประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ได้แก่ 1) การพัฒนาศักยภาพครู 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ 4) การส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์พบว่า การพัฒนาศักยภาพครูทําให้ครูมีการปรับเปลี่ยนวิธี การสอน สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนได้หลากหลายโดยเน้นนักเรียนเป็นสําคัญ มีการพัฒนาและใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน นํากระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาเป็นส่วนหนึ่ง ของการจัดการเรียนการสอน และสามารถนําผลการวิจัยไปใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียน การสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้และ การส่งเสริมความร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา ทําให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจและ ความถนัดของตนเอง นักเรียนมีส่วนร่วมในการ
ดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ได้คิด ได้ลงมือ ปฏิบัติจริง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผ่านเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกําหนดและมีทักษะการคิด วิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นกว้าเดิม 3. ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของนักเรียน โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการของ นักเรียน โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ อยู่ในระดับมาก