LASTEST NEWS

25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้างงานแนะแนว จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด
        วิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
ผู้วิจัย        เดชา ทิพยทิฆัมพร
ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ
    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริม สุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัด
การเรียนการสอน วิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 3.2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Focus Group) จำนวน 1 ฉบับ 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษา จำนวน 5 ชุด 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 5) แบบวัดกระบวนการคิดวิเคราะห์ จำนวน 20 ข้อ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ t-test (Dependent Sample)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา จากการวิเคราะห์เอกสารมีหลากหลาย ประกอบด้วย 1) สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน 2) วิสัยทัศน์การศึกษาในศตวรรษที่ 21 3) ที่มาและความสำคัญของทักษะในศตวรรษที่ 21 4) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 5) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) 6) สภาวการณ์ และบริบทแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ 7) การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) 8) การจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษา 9) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน 10) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 11) วิธีการสอนแบบสืบสอบ 7E ของ Eisenkraft 12) วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการใช้คำถาม (Questioning) ของ Bloom และ
13) แนวคิดการจัดการเรียนรู้ Active Learning ของ Brookeld
    2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีชื่อเรียกว่า “2E1PADC Model” (ทูอีวันพีเอดีซี โมเดล) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเร้าความสนใจ (Engagement : E) 2) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Elicitation : E)
3) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการนำเสนอบทเรียนใหม่ (Presentation of Learning Task : P) 4) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นปฏิบัติ (Analytical Thinking Practice : A) 5) ขั้นตอนที่ 5 ขั้นอภิปรายผลการปฏิบัติและการนำเสนอผลงาน (Discussion and Presentation : D) และ 6) ขั้นตอนที่ 6 ขั้นสรุปและประเมินผล (Conclusion and Evaluation : C) พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.38/83.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการ คิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา พบว่า
     3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     3.2 การพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อกระบวนการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา อยู่ในระดับพึงพอใจมาก


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^