เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เรื่อง การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย
ผู้วิจัย นางราตรี งาชัยภูมิ
โรงเรียนโนนกอกวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง การแก้ปัญหาด้วย scratch โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัยมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียน บนเครือข่าย เรื่อง การแก้ปัญหาด้วย scratch โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัยมศึกษาปีที่ 3 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้ปัญหาด้วย Scratch ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย (3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง การแก้ปัญหาด้วย Scratch ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง การแก้ปัญหาด้วย Scratch กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนโนนกอกวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่ม แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ บทเรียนบนเครือข่าย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติที (t-test) แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Samples t - test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง การแก้ปัญหาด้วย scratch โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัยมศึกษาปีที่ 3 จึงมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.69/81.03 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง การแก้ปัญหาด้วย scratch โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง การแก้ปัญหาด้วย scratch โดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อบทเรียนบนเครือข่ายโดยการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด