เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เรื่อง การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย
สร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางราตรี งาชัยภูมิ
โรงเรียนโนนกอกวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (2) สร้างบทเรียนบนเครือข่ายตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3) ศึกษาผลการใช้บทเรียนบนเครือข่ายตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (4) ประเมินผลการปรับปรุงบทเรียนบนเครือข่ายตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนโนนกอกวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบสอบเกี่ยวกับคุณลักษณะที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ บทเรียน แผนการสอน คู่มือการใช้บทเรียนบนเครือข่ายตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติที (t-test) แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Samples t - test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. คุณลักษณะที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่อยู่ในระดับมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ ความสามารถคิดได้หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อคำถามปลายเปิดและคำถามอื่นๆ สามารถนำเอาความรู้เดิมมาดัดแปลงและประยุกต์ให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้น สามารถแปลงความรู้หรือประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ได้หลายด้าน มีความคิดอิสระ กล้าเสี่ยง
2. บทเรียนบนเครือข่ายตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งมีผลการประเมินรับรอง บทเรียน บนเครือข่ายตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ ทุกประเด็นมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3. ความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ หลังได้รับการเรียนรู้จากบทเรียนบนเครือข่ายตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินเพื่อรับรองบทเรียนบนเครือข่ายตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด (x-bar = 4.55, S.D. = 0.21)