กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพ
ตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง
ผู้วิจัย สาลี่ เชิดชู
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
ปี พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ความมุ่งมั่น ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง 2. เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง 3. เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง และ 4. เพื่อประเมินกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ความมุ่งมั่น ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน การสร้างและตรวจสอบคุณภาพกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน การทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน และการประเมินกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ เครือข่ายชุมชน(รวมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง) จำนวน 120 คน ครูผู้สอน จำนวน 13 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ม.1-3 ที่ได้รับการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังต่อไปนี้ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองนักเรียน ได้แก่ แบบสำรวจแววอัจฉริยะ แบบสังเกตแววผู้มีความสามารถพิเศษ และแบบสัมภาษณ์นักเรียน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนานักเรียน ได้แก่ กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน, หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศของนักเรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง ในด้านวิชาการ ด้านศิลปะ ด้านดนตรี ด้านกีฬา และด้านวิชาชีพ กิจกรรม/โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพสู่ความเป็นเลิศและมีทักษะอาชีพของนักเรียนด้านวิชาการ ด้านศิลปะ ด้านดนตรี ด้านกีฬา และด้านวิชาชีพ และการสนับสนุนการใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน 3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการสนทนาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน, แบบสอบถามความมุ่งมั่น ความต้องการการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน, แบบบันทึกข้อมูลการสอบถามความคิดเห็นของผู้นำและสมาชิกในชุมชน, แบบสอบถามแนวทางการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน, แบบประเมินคุณภาพกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน, แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน, แบบสอบถามความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน และแบบประเมินกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหา ความมุ่งมั่น ความต้องการและแนวทางการมี ส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง พบว่า
1.1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการจำเป็นและแนวทางการมี ส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง พบว่า การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนมีความจำเป็นต่อครูผู้สอน ผู้บริหารและการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน เป็นการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุข ซึ่งความต้องการ และวิธีการแก้ปัญหาของการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง ด้วยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน มีดังนี้ 1) จัดการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนทุกคน เพื่อให้นักเรียนได้ค้นพบศักยภาพหรืออัจฉริยภาพของตนเอง เพื่อที่จะได้ทำการพัฒนาให้มีความเป็นเลิศตามศักยภาพหรืออัจฉริยภาพของนักเรียนแต่ละบุคคลสู่ความเป็นเลิศต่อไป โดยดำเนินการตามนโยบายการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School-based Management for Local Development -SBMLD) อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพัฒนาเยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต และมุ่งสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของแต่ละบุคคล ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้สามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาของโรงเรียนที่ทำให้โรงเรียนสามารถแก้ไขปัญหาและสนองตอบความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น 2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการวิเคราะห์ข้อมูล การคัดกรองนักเรียนตามแววอัจฉริยภาพ เพื่อให้นักเรียนค้นพบความถนัดและความสนใจของตนเองได้อย่างถูกต้อง และสำรวจความต้องการของผู้ปกครองชุมชนในคุณภาพนักเรียนและคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ทั้งการสร้างหลักสูตรที่ส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศในด้านวิชาการ ด้านศิลปะ ด้านดนตรี ด้านกีฬา และด้านวิชาชีพ การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินผลการใช้หลักสูตร และการจัดทำแผนการจัดเรียนรู้ตามหลักสูตร โดยเปิดสอนในรายวิชาเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของนักเรียนทั้งด้านวิชาการ ศิลปะ ดนตรี กีฬา และวิชาชีพ โดยเป็นรายวิชาที่มีความต่อเนื่องกัน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาสมรรถนะ และทักษะอาชีพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี และมีความสุขในการเรียน 4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของนักเรียน ทั้งการมีส่วนร่วมในการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศ การเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาอัจฉริยภาพนักเรียนในสถานศึกษา การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ การดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ การสนับสนุนงบประมาณ การระดมทรัพยากร การประชุมผู้ปกครองระดมความคิดให้ทราบถึงปัญหาและแนวทางการดำเนินการพัฒนาอัจฉริยภาพของนักเรียน การร่วมเป็นวิทยากรภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น การร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิชาการ ศิลปะ ดนตรี กีฬา และวิชาชีพ การจัดหาสื่อ ตำรา เอกสารและเทคโนโลยี การจัดแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาอัจฉริยภาพของนักเรียน ตลอดจนการสำรวจและการพัฒนา แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา และ
5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาอัจฉริยภาพนักเรียนตามผลการเรียนรู้ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง การประสานงานซึ่งกันและกัน ด้วยความรัก ความสามัคคี กลมเกลียว ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนได้รับการยอมรับ ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นในคุณภาพการจัดการศึกษาไว้วางใจโรงเรียนใกล้บ้าน ที่การศึกษาดี มีคุณภาพ
1.2 ผลการวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนและการบริหารโรงเรียนที่ส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน พบว่า ในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียนประกอบด้วย 4 หลักการ ได้แก่ 1) การพัฒนาโรงเรียน ต้องดำเนินการศึกษาสภาพของหน่วยงานเพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อนของหน่วยงานและบริบทของโรงเรียน เพื่อนำไปวางแผนในการดำเนินงานของโรงเรียน เพื่อการปฏิบัติงานที่มีรูปแบบชัดเจน มีแนวดำเนินงานและประเมินควบคุม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้การพัฒนาโรงเรียน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ การวางแผน การนำไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินผล 2) การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการคิดการตัดสินใจ การให้ข้อมูลข่าวสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น การรับรู้มุมมองร่วมกัน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การกำหนดเป้าหมายและวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ การมีส่วนร่วมในการวางแผน ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและงบประมาณ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การปฏิบัติตามแผนการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม การเชื่อมโยงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนผู้ปกครองมี การประสานงานที่ดี สนับสนุนกิจกรรมนอกหลักสูตร มีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร และการมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการกิจกรรม 3) การบริหารโรงเรียน ต้องมีการวางแผนการดำเนินการ การประเมินผล และการรายงานผลตามวงจรเดมมิ่ง (The Deming Cycle) สำหรับการจัดองค์กร การประสานงาน การสรรหางบประมาณ และการให้กำลังใจ จัดอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของวงจร ซึ่งประกอบด้วย แนวคิดการวางแผน การลงมือปฏิบัติ การประเมินผล และการรายงานผลและ 4) การส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน ต้องดำเนินการ คัดกรองเพื่อเสาะหาอัจฉริยภาพของนักเรียนแต่ละบุคคล พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศ การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาและจัดหาแหล่งเรียนรู้ และการประเมินผลตามสภาพจริง
1.3 ความมุ่งมั่นของบุคลากรที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเป้าหมาย ความพร้อมที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จ และความพร้อมที่จะประกันความรับผิดชอบในการทำให้เป้าหมายสำเร็จ พบว่า พฤติกรรมความมุ่งมั่นของบุคลากร ระดับ 75-100% ในการร่วมมือกันสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.08 ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นฐานมีความต้องการให้เครือข่ายชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 86.98
1.4 แนวทางการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง ภาพรวมทั้งในด้านการพัฒนาโรงเรียน การมี ส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน การบริหารโรงเรียน และการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลศตามอัจฉริยภาพนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.84)
จากผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ความมุ่งมั่น ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียนได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์ของ Abbass F.2003 มาพัฒนาเป็นกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง ได้ 4 กลยุทธ์ย่อย ได้แก่ 1.กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการวิเคราะห์ข้อมูล 2.กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการวางแผนพัฒนา 3.กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการนำไปสู่การปฏิบัติ และ 4.กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการประเมินผลและควบคุม
2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพกลยุทธ์ พบว่าโครงสร้างของกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง มี 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1. กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการวิเคราะห์ข้อมูล 2. กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการวางแผนพัฒนา 3. กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการนำไปสู่การปฏิบัติ และ 4. กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการประเมินผลและควบคุม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด(μ=4.67) และองค์ประกอบย่อยของกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด(μ=4.78) ผลการวิเคราะห์คุณภาพทั้ง 4 กลยุทธ์ พบว่ามีคุณภาพด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องทั้งบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียน ครู เครือข่ายชุมชน และตัวแทนนักเรียนในทุกกลยุทธ์อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้ พบว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง ระดับมาก (75-100%) ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 92.87 มีประสิทธิภาพในระดับมากที่สุด คุณภาพนักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์เขียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผ่านเกณฑ์การประเมิน เครือข่ายชุมชน ครู และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพนักเรียน ในระดับมากที่สุด(μ=4.62) และมีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ในระดับมากที่สุด(μ=4.67)
4. ผลการประเมินกลยุทธ์การมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนในการส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศ
ตามอัจฉริยภาพนักเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า มีมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ มาตรฐานด้านความเหมาะสม และมาตรฐานด้านความ ถูกต้อง อยู่ในระดับที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด(μ=4.80)