เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ บทคัดย่อเรื่อง รูปแบบการบริหารแหล่งเรียน
ทักษะชีวิต โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย นายยุทธศิลป์ จินดามาตย์
โรงเรียน โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม อําเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดยวิธีการสุ่มหาขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Simple Size) จําแนกเป็นนักเรียน 234 คน ผู้ปกครอง 234 คน รวม 468 คน กําหนดขนาดกลุ่มโดยเทียบตารางสําเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่าง โดยการเลือกแบบเจาะจง โดยมีตัวแทน (Key informants) ที่เป็นครู 28 คน นักเรียน 234 คน ผู้ปกครอง 234 คน รวม 496 คน ของโรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม ปีการศึกษา 2562 – 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย 1) แบบสํารวจ 2) แบบสอบถาม/แบบประเมิน 3) แบบสัมภาษณ์และการสนทนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 4.29)
2. รูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา เรียกว่า “ PALSIDA MODEL”ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (P – Planing) ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ (A – Analyze) ขั้นที่ 3การจัดการเรียนรู้(L – Learning process) ขั้นที่ 4 การให้บริการ (S = Service) ขั้นที่ 5 การเชื่อมโยงความรู้สู่สากล (I = International Link) ขั้นที่ 6 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ (D– Development) ขั้นที่ 7 ประเมินผลและเผยแพร่ (A – Asses and spreads)
3. ทดลองใช้รูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา ทําการประเมิน 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การออกแบบและพัฒนา มีประสิทธิภาพที่ระดับมากที่สุด ( X = 4.75, S.D.=3.65) ขั้นตอนที่ 2 โดยการสนทนากลุ่ม มีประสิทธิภาพที่ระดับมากที่สุด (ร้อยละ 100) ขั้นตอนที่ 3 การทดลอง ( try out) มีประสิทธิภาพที่ระดับมากที่สุด( X = 4.79, S.D.=2.94)
3.2 ผลการประเมินประสิทธิผลของการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ปีการศึกษา 2562-2564 ได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยเป็นโรงเรียนพอเพียงท้องถิ่นต้นแบบ และ สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. ผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการบริหารแหล่งเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมทักษะชีวิต โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม จังหวัดนครราชสีมา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.71)