เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นางซูฮานาฟียะห์ มูซอ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส
อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัด การเรียนรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนภูผาภักดี) สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 แผน ใช้เวลาสอน 18 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.40 – 0.67 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.27 – 0.73 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.899 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ (E.I) และค่าการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Sample t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 89.38/86.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/ 80 ที่ตั้งไว้
2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 0.74620 โดยก่อนเรียนนักเรียนมีผลรวมคะแนนเท่ากับ 379 คะแนน มีค่าเฉลี่ย 13.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.77 ในขณะหลังเรียนนักเรียนมีผลรวมคะแนนสูงขึ้นเท่ากับ 723 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.82 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.89 แสดงว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนใกล้เคียงกันมากกว่าก่อนเรียน
3) นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 เมื่อพิจารณารายคนพบว่า นักเรียนทั้ง 28 คน ต่างมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7 Es) เรื่อง ศึกษาชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ ขั้นที่ 7 ขั้นนำความรู้ไปใช้ ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย= 4.62,S.D. = 0.52) และมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผล ต่ำที่สุด ซึ่งเป็นความพึงพอใจในระดับมาก ( เฉลี่ย = 4.38, S.D. = 0.57) และมีความพึงพอใจทั้งหมด โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย= 4.51, S.D. = 0.56)