การประเมินโครงการคลองเมืองสวยด้วยมือเรา โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวนภาพร วงศ์คง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม
คำสำคัญ การประเมินโครงการ/ คลองเมืองสวยด้วยมือเรา
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการคลองเมืองสวยด้วยมือเรา โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม ในครั้งนี้ มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนาเข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ 5) เพื่อประเมิน ด้านผลกระทบของโครงการ และ 6) เพื่อประเมินด้านประสิทธิผลของโครงการ โดยใช้วธิ ีการประเมิน ของ Daniel L. Stufflebeam รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIE Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ ประเมิน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จานวน 7 คน ครู จานวน 10 คน นักเรียน จานวน 185 คน และผู้ปกครองนักเรียน จานวน 183 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( x ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการคลองเมืองสวยด้วยมือเรา โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม ใน
ภาพรวม พบว่า โครงการคลองเมืองสวยด้วยมือเรา โรงเรียนคลองเมืองพิทยาคม มีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับเหมาะสมมากทุก ด้าน โดยด้านมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านผลกระทบ รองลงมา ได้แก่ ด้านประสิทธิผล ด้านบริบท ด้าน ปัจจัยนาเข้า และด้านผลผลิต ตามลาดับ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่าสุด คือ ด้านกระบวนการ
2. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมาก ที่สุด คือ กิจกรรมตามโครงการมีประโยชน์ต่อนักเรียน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ โครงการมีความ สอดคล้องกับนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนาเข้า พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความรู้ ความสามารถของผู้บริหาร และครู ในการขับเคลื่อนโครงการ และ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือความเหมาะสมด้านวัสดุ อุปกรณ์ ในการดาเนินกิจกรรม
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ขั้นตอน ที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ขั้นตรวจสอบและประเมินผล รองลงมาได้แก่ ขั้นการปรับปรุงและพัฒนา ขั้นวางแผนการดาเนินงาน ตามลาดับ และขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ขั้นดาเนินงานตามแผน
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมาก ที่สุด คือ โรงเรียนมีภูมิทัศน์และแหล่งเรียนรู้ที่สวยงาม และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ นักเรียน นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
6. ผลการประเมินด้านผลกระทบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ โรงเรียนได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและชุมชน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากบุคคล/หน่วยงานภายนอก
7. ผลการประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ กิจกรรมสนองตอบต่อความต้องการอย่างครอบคลุม และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ประสิทธิภาพในการดาเนินงานที่เป็นระบบ