การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียน
วิชาสุขศึกษา ของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา
(อนุสรณ์ ๗๐ ปี เทศบาล)
ผู้วิจัย นายพยุงศักดิ์ รักสัตย์
ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการจัดรูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา (อนุสรณ์ ๗๐ ปี เทศบาล) สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา จำนวน 30 คน ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 คัดเลือกโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest - Posttest Design สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดรูปแบบการเรียนรู้รูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษาของครู แบบสังเกตพฤติกรรมความสุขในการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. การสร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา ของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา (อนุสรณ์ ๗๐ ปี เทศบาล) โดยสังเคราะห์ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการสังเคราะห์ทำให้ได้รูปแบบมีองค์ประกอบการสอน 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย 1) ขั้นนำ (Introduction) 2) ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด (Turning restructuring of ideas) 3) การสร้างความคิดใหม่ (Construction of new ideas) 4) ขั้นนำความคิดไปใช้ (Application of ideas) และ 5) ขั้นทบทวน (Review) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับมาก
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการใช้รูปแบบรูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา ของครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก แบบสังเกตพฤติกรรมความสุขในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 1
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมความสุขในการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
4. ผลการหาคุณภาพและปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา ของนักเรียนโรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา (อนุสรณ์ ๗๐ ปี เทศบาล) พบว่า การใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่เสริมสร้างความสุขในการเรียนวิชาสุขศึกษา มีความเหมาะสมกับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และสามารถนำไปสร้างเสริมความสุขในการเรียนรู้ได้ เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยที่เรียนรู้ได้ง่าย เป็นสิ่งที่ควรปลูกฝังให้เกิดขึ้นในเด็กทุกคน สื่อการสอน และกิจกรรมการเรียนการสอนเหมาะสมกับวัยของเด็ก เด็กมีความกระตือรือร้นอยากที่จะเรียนรู้ และมีความสนใจในกิจกรรมเป็นอย่างดี เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับกลุ่มเพื่อน ได้แสดงความคิดเห็น เด็กกล้าแสดงออกรู้จักช่วยเหลือกัน และแบ่งปันวัสดุซึ่งกันและกัน กิจกรรมการเรียนการสอนเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม การให้เด็กทำงานร่วมกับเพื่อนทำให้เด็กได้รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองและเพื่อนในขณะทำกิจกรรม ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ ทั้ง 3 ด้าน
ได้แก่ ความเก่ง ความดี และมีความสุข