การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
ผู้วิจัย นาวิน ผดุลย์ศิลป์ ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษาที่วิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ 2) เพื่อทดสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์กับรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยวิธีปกติในด้านความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ การวิจัยประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดเทวสังฆาราม) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 38 คน โดยเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test)
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วัตถุประสงค์ 2) ขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้ 3) การจัดสภาพแวดล้อม และ 4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการสำรวจความรู้เดิม 2) ขั้นกระตุ้นผู้เรียน 3) ขั้นการสร้างแนวคิดใหม่ 4) ขั้นค้นพบคำตอบ
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 ได้
2.1 ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.3 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ มีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ
2.4 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ
1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ ได้แก่ หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วัตถุประสงค์ ขั้นตอนของกระบวนการจัดการเรียนรู้ การจัดสภาพแวดล้อม และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
จากการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปใช้ในสถานการณ์จริง ด้วยแบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง โดยมีการวัดผล 2 ระยะคือ ทดสอบก่อนเรียน และทดสอบหลังเรียน กลุ่มทดลองได้รับการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มควบคุมได้รับการสอนโดยวิธีปกติตามแนวทางการจัดการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผลการทดลองสรุปได้ดังนี้
2.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์มีความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
2.2 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์มีความสามารถในการแก้ปัญหา หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
2.3 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์มีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ
2.4 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหา
ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษา ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ สรุปว่า ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกล่าวคือ ถ้าความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น ความสามารถในการแก้ปัญหาก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง